เช็กความยาวเทโลเมียร์ (Telomere) โครโมโซมอายุเซลล์ เพื่ออายุจริงที่ยืนยาว

เช็กความยาวเทโลเมียร์ (Telomere) โครโมโซมอายุเซลล์ เพื่ออายุจริงที่ยืนยาว

เทโลเมียร์ คืออะไร?

เทโลเมียร์(Telomere) คือส่วนที่อยู่บริเวณปลายสุดของโครโมโซม หรือปลายสายของดีเอ็นเอ ซึ่งดีเอ็นเอก็คือรหัสพันธุกรรมของตัวเรา แต่ตัวเทโลเมียร์จะประกอบด้วยลำดับเบสซ้ำๆ กัน ประมาณ 3,000-15,000 ครั้ง ที่ไม่เกี่ยวกับรหัสพันธุกรรมโดยตรง หากมีความสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับสารรหัสพันธุกรรมในขณะที่เซลล์ในร่างกายทำการแบ่งตัว

 

เพื่อรักษารหัสพันธุกรรม ‘เทโลเมียร์’ จึงสั้นลงเรื่อยๆ

แม้ตัวเทโลเมียร์เองจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนรหัสพันธุกรรมไว้ แต่เพราะเซลล์ในร่างกายมีการเสื่อมลงและได้รับการสร้างใหม่หรือแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา โดยระหว่างที่เซลล์แบ่งตัวจะเกิดการสูญเสียโครโมโซมลำดับเบสไปครั้งละประมาณ 25-200 ตัว ซึ่งลำดับเบสในส่วนของเทโลเมียร์ที่สูญเสียไปนั้น เป็นการพยายามรักษารหัสพันธุกรรมให้คงไว้ เพื่อไม่ให้รหัสพันธุกรรมเกิดความผิดปกติ อันจะส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้เซลล์ที่เกิดใหม่นั้นมีความผิดปกติได้ อย่างไรก็ตาม การที่เทโลเมียร์หดสั้นลงเรื่อยๆ จากการแบ่งเซลล์จะส่งผลต่ออายุของเซลล์ ซึ่งสัมพันธ์กับสุขภาพและอายุร่างกาย หากอัตราของการเสื่อมสภาพของเซลล์สูงก็เท่ากับอัตราความชราสูงขึ้นด้วยนั่นเอง

 

วางแผนสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรค

ด้วยการตรวจความยาวของ เทโลเมียร์ (Telomere Lenght)

การตรวจวัดความยาวส่วนปลายของโครโมโซม หรือ เทโลเมียร์ จะสามารถบ่งชี้อายุของเซลล์ตามชีวภาพ (Biological age) และบอกถึงภาวะความเสื่อมของเซลล์ (Degenerative status) ว่าเกิดขึ้นเร็วเกินไป หรือไวเกินกว่ามาตรฐานคนทั่วไปหรือเปล่า โดยความเสื่อมของเซลล์ชีวภาพจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในอนาคต การรู้ถึงอัตราการหดสั้นลงของเทโลเมียร์จึงช่วยให้เกิดการวางแผนป้องกัน ฟื้นฟู พร้อมดูแลรักษาสุขภาพในแบบที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การพักผ่อน การออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ อย่าง โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง อัลไซเมอร์ และเบาหวาน

 

ไม่อยากป่วยง่าย ชราเร็ว

ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอัตราหดสั้นของเทโลเมียร์

เพราะกลไกตามธรรมชาติของมนุษย์นั้น เทโลเมียร์จะค่อยๆ หดสั้นลงตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดความชราของเซลล์และร่างกาย เพียงแต่การหดสั้นของเทโลเมียร์ของแต่ละคนจะเร็วช้าไม่เท่ากัน ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หากใครไม่อยากป่วยบ่อย ป่วยง่าย หรือแก่ก่อนวัย ต้องรีบปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้ดีขึ้น โดยหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ที่จะไปกระตุ้นให้เทโลเมียร์หดสั้นลงเร็วกว่าปกติที่ควรจะเป็น เช่น

  • การสูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การทำงานหนัก พักผ่อนน้อย และมีความเครียดสะสม
  • การไม่กินผัก ผลไม้ ขาดไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ
  • การไม่ออกกำลังกาย
  • การปล่อยให้มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษสูง

 

เพราะสิ่งเหล่านี้จะที่ส่งผลให้กลไกการแบ่งตัวของเทโลเมียร์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป นำไปสู่ความชราเร็วกว่าที่ควร และเพิ่มความเสี่ยงต่อการที่เซลล์ปกติจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

 

การดูแลสุขภาพด้วยการรู้เท่าทันความเสื่อมของเซลล์แบบเจาะลึก ด้วย ‘การตรวจความยาวของเทโลเมียร์’ สามารถทำได้จากการเจาะเลือดไปตรวจโดยไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อน หรืออาจใช้วิธีเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อและน้ำลายจากกระพุ้งแก้ม หลังจากผลออกแล้ว แพทย์จะแนะนำและช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพให้ในแบบที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อการฟื้นฟูร่างกายจากภายใน เป็นการยืดอายุเซลล์ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้าย และชะลอความชราไปในตัวอีกด้วย

 

 


แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ



Loading...