ฟอสฟอรัส เป็นแร่ราตุหรือเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้ปกติส่วนใหญ่จะเก็บอยู่ที่กระดูกและฟัน ช่วยในการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
- กระดูกฟัน 89%
- กล้ามเนื้อ 10%
- อวัยวะภายใน 4%
- เลือด 1%
หน้าที่ของฟอสฟอรัส
- ทำงานร่วมกับแคลเซียมเป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน
- กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อ
- กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ประสิทธิภาพในการขับฟอสฟอรัสลดลง ทำให้เกิดการคั่งของฟอสฟอรัสในเลือดได้
เป้าหมายของฟอสฟอรัสที่เหมาะสม มากกว่า 4.6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง
- กระดูกบางและเปราะ ก้อนแคลเชียมเกาะตามเนื้อเยื่อ
- ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต หลอดเลือดแดงแข็ง
เป้าหมายของระดับฟอสฟอรัสของผู้ป่วยโรคโตเรื้อรัง คือ 2.7-4.6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ทำไมต้องควบคุมระดับฟอสฟอรัส ?
- เมื่อรับประทานอาหารฟอสฟอรัสจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
- สำหรับผู้ป่วยโรคโต ไตจะทำหน้าที่ลดลง จึงไม่สามารถกำจัดฟอสฟอรัสออกได้
- ทำให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้น เกิด “ภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง”
- ไปกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์ หลั่ง “ฮอร์โมนพาราไทรอยด์”
- ฮอร์โมนนี้จะไปสลายแคลเซียมจากกระดูก เพื่อจับกับฟอสฟอรัสที่มากเกิน ซึ่งส่งผลเสียทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนังกระดูกบาง เปราะ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โตและหลอดเลือดแดงแข็งในที่สุด
การป้องกันภาวะฟอสฟอรัส
- ควรจำกัดการได้รับฟอสฟอรัสจากอาหารอยู่ที่ 800-1,000 มิลลิกรัม/วัน
- รักษาระดับฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในช่วง 2.7 – 4.6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
เราจะสามารถควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือดได้อย่างไร?
- ควบคุม
- ยาขับ
- ฟอก
การใช้ยาจับฟอสฟอรัสและการอกเลือด อาจไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่ได้รับในแต่ละวัน จึงต้องควบคุมจากการรับประทานอาหาร
ฟอสฟอรัสในอาหาร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
จากแหล่งธรรมชาติ |
ส่วนประกอบสารสังเคราะห์ |
พบในอาหารทั่ว ๆ ไป ที่บริโภคอยู่เป็นประจำ | พบในสารปรุงแต่งอาหาร |
อาหารที่มีโปรตีนสูง ฟอสฟอรัสมักสูงตาม ยกเว้น ไข่ขาว | เพื่อเสริมแร่ธาตุ เพิ่มเนื้อสัมผัส เช่น ธัญพืชอบกรอบ ซีเรียล |
ร่างกายดูดซึมร้อยละ 40-60 | เพื่อให้เกิดการหมักและฟูของแป้ง เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอร์รีที่มียีสต์ ผงฟู |
เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกเพิ่มอายุเก็บ เช่น กุ้ง/ปลาแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป | |
เพื่อเพิ่มรสชาติ เนื้อสัมผัสเด้ง เช่น แฮม นักเก็ต ลูกชิ้น ไส้กรอก | |
เพื่อเพิ่มสี กลิ่น สารกันบูด เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน ชา | |
ร่างกายดูดซึมมากกว่าร้อยละ 90 |
ฟอสฟอรัสซ่อนแอบ
ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อสังเกต “ฟอสเฟต” “ฟอส” “Phosphate” “Phos” ถ้าพบควรหลีกเลี่ยง
กลุ่มอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงและอาหารทดแทน
กลุ่มอาหาร |
อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ควรหลีกเลี่ยง |
อาหารที่ทดแทนกันได้ |
เครื่องดื่ม | นมและผลิตภัณฑ์ นมทุกชนิด ครีมนม วิปปิ้งครีม นมผง นมข้นหวาน/จืด นมเปรี้ยว เต้าหู้นมสด โยเกิร์ต ไอศกรีม
เครื่องดื่มที่ใส่นมหรือครีมเทียม เช่น โกโก้ ชาเย็น ชานม กาแฟเย็น ช็อคโกแลต กาแฟ 3 in 1 เครื่องดื่มสำเร็จรูป บรรจุขวด กระป้อง น้ำอัดลม น้ำธัญพืช น้ำผักผลไม้ เช่น น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำลูกเดือย นมมอล์ต น้ำผลไม้รวม แอลกอฮอล์ |
กาแฟดำ ชาจีน/ฝรั่ง ไม่ใส่นม
ได้ 1-2 แก้ว/วัน แต่ยังคงมีฟอสฟอรัสอยู่บ้าง ดื่มมากทำให้ฟอสฟอรัสขึ้นได้จึงไม่ควรดื่มต่างน้ำ น้ำสมุนไพร น้ำขิง ใบเตย มะนาว อัญชัน มะนาวโซดา ควรเลี่ยงน้ำสีดำเข้ม |
ขนม | ขนมที่ใช้ผงฟู ยีสต์ ชีส ถั่ว เนย ไข่แดง
เช่น เบเกอรี ขนมปังสอดไส้ โดนัท เค้ก ขนมเปี๊ยะ ทองหยิบ ทองหยอด ฝ่อยทอง เม็ดขนุน ซาลาเปา ปาท่องโก๋ ขนมจีบ เวเฟอร์ โรตี แพนเค้ก ครัวซ็อง |
ขนมไทยที่ใช้แป้ง หรือ แป้งปลอดโปรตีนเป็นหลัก
เช่น วุ้น เยลลี่ ซาหริ่ม ลอดช่องสิงคโปร์ ขนมชั้น สาคูเปียก |
เนื้อสัตว์ | ไข่แดง ไข่ปลา ไข่มด เครื่องในสัตว์ เต้าหู้
อาหารที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลากรอบ ปลาแห้ง (ทอดกรอบ โขลกใส่น้ำแกง) ปลาเล็กปลาน้อยทอด (ปลากรอบปลาปั่น) ครีบ/หาง/หัวปลาทอด กบ แย้ ย่าง ทั้งกระดูก แมลงต่าง ๆ ทอดกรอบ เนื้อสัตว์แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เช่น แหนม หมู/ไก่ยอ หมูแผ่น หมูเส้น ปลาเส้น (ฮื่อก้วย) หมูไก่ปรุงรส หมู/ไก่หยอง กุนเชียง แฮม ไส้กรอก โบโลน่า เบคอน หมู/เนื้อ/ไก่/ ปลาสวรรค์ ไส้อั่ว ลูกชิ้น เนื้อสัตว์สำเร็จรูปแช่แช็ง นักเก็ต ปูอัด ปลาแซลมอนรมควัน ทูน่ากระป๋อง ปลากระป๋อง |
ไข่ขาว แหล่งโปรตีนคุณภาพดี
ฟอสฟอรัสต่ำ เนื้อปลาต่าง ๆ เลี่ยงส่วนกระดูก ครีบ แก้ม หาง เนื้อวัว หมู ไก่ เป็ด ไม่ติดมันหรือติดหนัง |
ธัญพืชและข้าว | ถั่วต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง
ถั่วดำ ถั่วลิสง อัลมอลล์ แมคคาเดเมีย วอลนัต มะม่วงหิมพานต์ พิสตาชิโอเฮเซลนัต เนยถั่วสำเร็จรูป เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ แป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต จมูกข้าว บะหมี่ มูสลี่ ฟองเต้าหู้ เต้าฮวย น้ำเต้าหู้ ข้าวโพดอบกรอบ คอนเฟลก เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม
|
แป้งที่ผ่านการขัดสี
เช่น ข้าวขาว เส้นใหญ่ เส้นเล็ก เส้นหมี่ วุ้นเส้น เส้นเซี่ยงไฮ้ |
ผัก | พืชหัว เช่น มันเทศ ผือก แห้ว ผักกาดดองกระป๋อง/ผักแช่แข็ง
|
ผักใบ/ผักสด
|
ผลไม้ | ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกเกด ลูกพรุน อินทผาลัม ทุเรียนอบกรอบ
สตรอว์เบอร์รีตากแห้ง มะม่วงกวน
|
ผลไม้สด
|
เครื่องปรุง | น้ำสลัด มายองเนส ซอสมะเขือเทศ ผงปรุงรส/ก้อน มัสตาร์ด
|
ลดการปรุงรสด้วยเครื่องปรุง
|
อาหารสำเร็จรูป | อาหารสำเร็จรูปหรือแช่แข็งอาหารจานด่วน
เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า มั่นฝรั่งทอด ฮ็อตด็อก |
อาหารสดไม่ผ่านการแปรรูป |
ข้อควรรู้ ?
แม้ไข่แดงจะมีปริมาณฟอสฟอรัสสูง แต่ก็เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี โดยแนะนำให้ทานไข่ทั้งฟอง 1 ฟอง/วัน (คนปกติ) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจสามารถทานได้วันเว้นวัน
พลังงานและสารอาหารของไข่ไก่
ทั้งฟองเบอร์ 0 ปริมาณ 1 ฟอง ให้พลังงาน 72 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 0.36 กรัม โปรตีน 6.28 กรัม ไขมัน 4.76 กรัม คอเลสเตอรอล 186 มิลลิกรัม
เทคนิค ลด ฟอสฟอรัส เมื่อทานนอกบ้าน
- ลด/เลี่ยงการเติมหรือจิ้มซอสเพิ่ม เพราะเป็นแหล่งฟอสฟอรัสแอบซ่อน
เคล็ดลับ : สั่งเมนูอาหารที่ไม่ต้องจิ้มเพิ่ม หรือ แยกน้ำจิ้ม/ซอส
- หลีกเลี่ยง กับข้าว/ข้าวกล่องสำเร็จรูป เป็นแหล่งของโซเดียมและฟอสฟอรัสที่สูง
- การรับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตต่ำ แต่ทานในปริมาณที่มากหรือบ่อยก็ทำให้กลายเป็นได้รับปริมาณฟอสฟอรัสสูงได้เช่นกัน เช่น การรับประทานอาหารบุฟเฟต์
- หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป และผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์มีกระดูก
- เลือกอาหารมื้อว่างฟอสเฟตต่ำ หลีกเลี่ยงเบเกอร์รีและขนมไทยที่มีไข่แดงเป็นส่วนประกอบ
- เลือกดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก เลี่ยง นม ชา กาแฟ เพราะมีฟอสฟอรัสสูง
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 14 อาคาร A โทร. 02-617-2444 ต่อ 1683, 1684
คู่มือ สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง