ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า ยิ่งผู้ใหญ่ในบ้านสูงอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะหกล้มแล้วเกิดอาการกระดูกสะโพกแตก ร้าว หรือหักได้ง่ายขึ้นเท่านั้น นั่นเพราะในผู้สูงวัยความแข็งแรงของกระดูก และความหนาแน่นของกระดูกยิ่งน้อยลง หรือที่เรียกว่าภาวะกระดูกพรุนนั่นเอง และในผู้สูงวัยผู้หญิงก็มีภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย
“มีสถิติพบว่าในผู้หญิงที่อายุประมาณ 45 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักเพิ่มสูงขึ้นมาก และทุก ๆ 1 ใน 5 คนของผู้สูงวัยที่อายุเกิน 65 ปี จะมีโอกาสกระดูกสะโพกหักได้ทันที แม้จะเกิดจากการหกล้มเพียงเบาๆ เท่านั้น”
ถ้าผู้สูงวัยหกล้มแล้วมีอาการแบบนี้…ให้สงสัยเลยว่าอาจสะโพกหักหรือแตกได้
- ปวดมากตรงสะโพกบริเวณด้านหลัง หรือตรงขาหนีบ แม้จะอยู่เฉยๆ
- ไม่สามารถยืน หรือลงน้ำหนักที่ขาข้างนั้นได้
- บริเวณสะโพกจะรู้สึกขัดๆ มีรอยฟกช้ำ และบวม
- ขาข้างที่สะโพกหักจะสั้น ไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ขาจะหมุนเข้าหรือออก
- ปวดทรมานเมื่อขยับขา ไม่ว่าจะทิศทางไหนก็ตาม
3 ขั้นตอนเบื้องต้นดูแลผู้ป่วย…ทันทีที่แน่ใจว่าเป็นอาการสะโพกหัก
- ถ้าอาการปวดไม่รุนแรง และสามารถลุกมาอยู่ในท่านั่งได้ ให้รีบพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง
- ก่อนจะเคลื่อนย้ายหรือขึ้นรถไปโรงพยาบาล ให้หาแผ่นกระดานยาวรองที่แผ่นหลังและต้นขา แล้วล็อคช่วงสะโพกให้อยู่นิ่งๆ เพื่อลดการปวดและป้องกันกระดูกที่แตกเคลื่อนที่ไปมากกว่าเดิม
- ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างรุนแรงและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย ควรเรียกรถพยาบาลให้ไปรับถึงที่เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนที่ทำให้กระดูกที่แตกเคลื่อนที่มากไปกว่าเดิม หรือป้องกันผู้ป่วยไม่ให้ต้องเจ็บปวดทรมานมากกว่าเดิม ติดต่อ สถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2 และเรียกรถพยาบาล โทร 1772