แก้ปัญหาต่อมลูกหมากโต

พญาไท พหลโยธิน

1 นาที

พ. 25/09/2024

แชร์


Loading...
แก้ปัญหาต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่บริเวณด้านล่างใต้กระเพาะปัสสาวะ เมื่อถึงวัย ไม่ว่าหนุ่มคนไหนก็ต้องเจอปัญหากับอวัยวะที่มีความสำคัญอย่าง “ต่อมลูกหมากโต” เพราะต่อมลูกหมากเป็นเกี่ยวพันกับความเสื่อมตามวัยของผู้ชาย เป็นโรคที่มีอาการแสดง คือการปัสสาวะที่ผิดปกติ แม้จะไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่หากปล่อยไว้ก็อาจจะกระทบต่อคุณภาพชีวิต ส่งผลต่อความสุขในชีวิตประจำวัน และนำไปสู่สุขภาพโดยรวมที่แย่ลงได้ ดังนั้นการรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะโดยรวมที่ดี และมีอายุที่ยืนยาว

 

ต่อมลูกหมากโต ไม่ใช่ปัญหา (ใหญ่) แต่ปล่อยไว้ (คง) ไม่ดี

ต่อมลูกหมากโต เป็นอาการที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสามารถมองเป็นเรื่องของความเสื่อมมากกว่าโรคภัยไข้เจ็บ “ต่อมลูกหมากโตจริงๆ แล้วไม่ต่างกับชีวิตในจุดหนึ่งที่ผู้ชายมีผมขาว ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีเร็วช้า ไม่เท่ากัน แต่โดยสุดท้ายก็มักจะมีผมขาว ต่อมลูกหมากโตเองก็เช่นกัน”

 

อาการของต่อมลูกหมากโตจะแสดงเริ่มจากอาการปัสสาวะไม่คล่อง ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น กลั้นปัสสาวะเวลาเริ่มปวดยากขึ้น หรือต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะปัสสาวะได้ โดยอาการเริ่มต้น ไม่ได้จำเป็นต้องมีทุกอาการตามที่กล่าว แต่อาจจะมีเพียงอันใดอันหนึ่งก็ได้ อาการเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้ มีโอกาสที่จะแย่ลงได้ โดยนอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง จากการต้องไปปัสสาวะบ่อยๆ เบ่งนานๆ เมื่ออาการเป็นมากขึ้นก็สามารถทำให้เกิด การติดเชื้อ ปัสสาวะเป็นเลือด ภาวะนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือกระทั่ง ความยืดหยุ่นกระเพาะปัสสาวะเสียหาย จนทำให้เกิดภาวะไตเสื่อมตามมาได้

 

การรักษาต่อมลูกหมากโตแบบธรรมดาสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

รักษาต่อมลูกหมากโตด้วยยา วิธีการรักษาเริ่มแรกแพทย์จะให้ปรับพฤติกรรมเสียก่อน เช่น ในรายที่เป็นไม่มาก อาจให้ลดการดื่มน้ำลง ลดชา กาแฟ ถ้าอาการดีขึ้นก็ไม่ต้องพึ่งยา แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ต้องรักษาด้วยยาต่อไป ในส่วนของการรักษาด้วยยา แพทย์อาจสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (Finasteride) ซึ่งจะช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมากให้มีขนาดเล็กลง หรือบางครั้งอาจใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้มีลักษณะอ่อนตัวลง (Alpha-Blockers) แต่ถ้าในรายที่มีอาการปัสสาวะลำบากมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน หรือในรายที่เป็นมากๆ แต่อยู่ในระหว่างรอการผ่าตัด แพทย์ที่ทำการรักษาจะให้การรักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่งตามความเหมาะสมแต่ละอาการของบุคคลนั้นๆ ได้แก่

  • ยากลุ่มปิดกั้นแอลฟา (AlphaBlockers) เช่น ยาพราโซซิน (Prazosin) ยาดอกซาโซซิน (Doxazosin) ซึ่งยากลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมาก และกล้ามเนื้อหูรูดที่คอกระเพาะปัสสาวะ มีผลทำให้ถ่ายปัสสาวะได้คล่องขึ้น
  • ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟารีดักเทส (Alpha Reductase Inhibitors) เช่น ยาฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) ซึ่งยานี้จะมีฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้เทสโทสเตอโรนเปลี่ยนเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดต่อมลูกหมากโต แต่เมื่อได้รับยาแล้วจะทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลงได้ประมาณ 30%

 

ข้อเสีย คือ ยาเหล่านี้ต้องรับประทานไปตลอดหลายปีเพื่อคุมอาการ ซึ่งถ้าลองรับประทานยาทุกขนานแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น การรักษาในขั้นตอนต่อมาคือการผ่าตัด ซึ่งก็มีอีกหลายวิธีการเช่นกัน โดยแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

 

TURP อีกหนึ่งวิธีรับมือต่อมลูกหมากโต

การผ่าตัดต่อมลูกหมาก มีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ แบบหัวจี้ไฟฟ้า แบบใช้เลเซอร์ยิง และแบบไอน้ำ โดยแต่ละวิธีก็เหมาะกับขนาดของต่อมลูกหมากที่แตกต่างกัน แต่แบบที่ใช้เป็น benchmark มาตรฐานในปัจจุบันคือการใช้หัวจี้ไฟฟ้า หรือที่เรียกในภาษาการแพทย์ว่า TURP (Transurethral Resection of the Prostate)

 

วิธีการทำ TURP คือ การส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ เพื่อขูดเนื้อต่อมลูกหมากออกมา ใช้ระยะเวลาในการทำผ่าตัดจะประมาณชั่วโมงครึ่ง โดยผลข้างเคียงคือจะทำให้มีน้ำอสุจิน้อยลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะไม่ได้มีผลทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นวิธีการผ่าตัดแบบเอนโดสโคป (endoscopic) ที่ไม่มีแผลเลย และใช้เวลาพักฟื้นสั้น

 

ประโยชน์ของการเข้ารับการรักษาต่อมลูกหมาก

นอกเหนือจากเรื่องของการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตแล้ว ผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยวิธีใช้ยา หรือผ่าตัด ก็จะได้รับการตรวจคัดกรองค่า PSA ซึ่งใช้บอกความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย “โดยหากค่า PSA ผิดปกติ แพทย์จะสามารถส่งเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อค้นหาจุดที่มีความเสี่ยงสูงภายในต่อมลูกหมาก เพื่อทำการตรวจชิ้นเนื้ออย่างแม่นยำต่อไป”

 

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด TURP

เริ่มต้นจากการสำรวจอาการตัวเองว่าเป็นอย่างไร ขณะนี้ได้รับยาอะไรอยู่บ้าง มีผล PSA หรือผลค่ามะเร็งต่อมลูกหมากครั้งล่าสุดภายในปีนั้นๆ หรือไม่ ผู้ป่วยสามารถนำประวัติการรักษาเข้ามารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ เพื่อประเมินการรักษาก่อนทำการผ่าตัด ก่อนการผ่าตัด แพทย์อาจส่งตรวจอัลตราซาวน์เพิ่มเติมเพื่อดูรูปร่าง หน้าตาที่เปลี่ยนไปของต่อมลูกหมาก เพื่อให้แพทย์วางแผนการผ่าตัดได้ดีขึ้น หรือบางกรณีอาจต้องทำ MRI เพื่อสแกนดูเรื่องมะเร็งในกลุ่มที่มีค่า PSA ผิดปกติ

 

TURP ถือเป็นวิธีการผ่าตัดที่ไม่ยาก ไม่มีความเสี่ยงทางเทคนิคมากนัก ถ้าหากไม่มีโรคประจำตัว การผ่าตัดนี้จะถือว่าค่อนข้างปลอดภัย หลังผ่าตัดประมาณ 2-3 วันแรก คนไข้จะได้รับการใส่สายสวนคาไว้ก่อน และได้รับการถอดสายก่อนกลับบ้าน ผู้ป่วยจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นหลังการผ่าตัดอย่างชัดเจนหลังจาก 1 เดือนแรกของการผ่าตัด และไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต่อมลูกหมากอีกต่อไป


แชร์

Loading...
Loading...
Loading...