-
การรักษาด้วยยา
-
- ยารับประทาน การรับประทานยากลุ่ม Phosphodiesterase type 5 (PDE5) inhibitors เช่น Sildenafil, Tadalafil และ Vardenafil มักจะถูกเลือกให้เป็นการแก้ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นลำดับแรก ยกเว้นผู้ป่วยจะมีข้อห้ามในการใช้ยา เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับยากลุ่มไนเตรต (Nitrate) ในการรักษา หรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงพอต่อการมีเพศสัมพันธ์
- กลุ่มยา PDE5 inhibitor จะช่วยในการแข็งตัวขององคชาตดีขึ้น ยากลุ่มนี้ได้แก่ ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafi) ทาดาลาฟิล (tadalafil) และ วาเดนาฟิล (vardenafil) โดยจะรับประทานก่อนมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1 ชั่วโมง สรรพคุณของยาจะเข้าไปทำให้เส้นเลือดขยายตัว แต่อาจมีผลข้างเคียงคือทำให้รู้สึกปวดศีรษะ ร้อนวูบ ชั่วคราว
นอกจากนี้ยังมียาอีกกลุ่มโดยการอมใต้ลิ้นนาน 10 นาที คือ ยาอะโปเมอร์ฟีน (Apomorphine) ที่จะออกฤทธิ์ที่ PVN (paraventricular nucleus) อยู่ในบริเวณก้านสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของการแข็งตัวขององคชาตในสมอง และไม่มีข้อห้ามในการรับประทานร่วมกับยากลุ่มไนเตรตที่ใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ มีประสิทธิภาพประมาณร้อยละ 50 ได้ผลเร็วใน 30 นาที แต่อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้ แต่ไม่มีรายงานว่ามีผลข้างเคียงที่รุนแรง
-
- ยาสอดทางท่อปัสสาวะ ยาช่วยการแข็งตัวแบบใส่ที่ท่อปัสสาวะ (alprostadil intra-urethrak suppositories) อาจใช้สำหรับคนที่ใช้ยาแบบรับประทานแล้วไม่ได้ผล หรืออาจใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆ ได้ จะมีตัวยา prostaglandin E-1 ซึ่งออกฤทธิ์เป็นยาขยายหลอดเลือด แต่การใส่ทางท่อปัสสาวะต้องใช้ขนาดยาสูง และร้อยละ 30 มีอาการแสบในลำกล้อง การระคายเคืองต่อท่อปัสสาวะ อัณฑะ และอาจจะมีเลือดออกจากท่อปัสสาวะ จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้ การใส่ยาเข้าทางท่อปัสสาวะจะเริ่มออกฤทธิ์ในเวลา 8-10 นาที อยู่ได้นาน 30-60 นาที และต้องใช้ยางรัดไวเพื่อให้อวัยวะเพศแข็งตัวนาน
- ยาฉีดเข้าองคชาต (intracavernosal injection therapy) เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ คอร์ปัส คาเวอร์โนซัม เกิดการคลายตัว อาจจะใช้รักษาแบบเดี่ยว หรือแบบหลายชนิดร่วมกัน ยาที่ใช้บ่อยได้แก่ alprostadil (prostaglandin E1: PGE1), papaverine และ phentolamine ขนาดยาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยจะได้รับการสอนเกี่ยวกับการฉีดยา อาจมีการใช้ยาชนิดเดียว หรือสามารถใช้ร่วมกันกับ PDE-5 inhibitor ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาดียิ่งขึ้น
-
การให้ฮอร์โมนทดแทน (androgen therapy)
ผู้ป่วยที่พบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาจตรวจพบระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนลดต่ำลง การให้ฮอร์โมนทดแทนจะมีประโยชน์ในผู้ที่พร่องฮอร์โมน (severe hypogonadism) และอาจใช้เป็นการรักษาวิธีอื่นๆ โดยแพทย์จะประเมินว่าผู้ป่วยมีหรือไม่มีอาการของการขาดฮอร์โมน ก่อนตัดสินใจว่าจะตรวจวัดระดับฮอร์โมนในชาย ED การให้ฮอร์โมนทดแทน (replacement androgens) อาจให้ในรูปรับประทาน การฉีด การทาหรือเป็นแผ่นแปะผิวหนัง
-
รักษาด้วยอุปกรณ์ตัวช่วย เช่น กระบอกสุญญากาศ (vacuum constriction devices)
เป็นกระบอกพลาสติกสวมครอบอวัยวะเพศ เมื่อดูดลมในกระบอกออกจนเป็นสุญญากาศ เลือดจะวิ่งเข้ามาในอวัยวะเพศแทน ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ แต่จะให้คงแข็งใช้งานต่อไปได้ หลังเอากระบอกออก ก็ต้องใช้ยางรัดที่โคนอวัยวะเพศ เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่ร่างกาย
-
การผ่าตัดรักษา (penile prosthesis implantation)
อาจเลือกใช้ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาในการรักษา เช่น การผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม (placement of penile implant) เป็นวิธีการรักษาที่มักใช้รักษาในชายที่การรักษาอื่นล้มเหลว หรือผู้ที่ต้องการปรับแต่งองคชาต (penile reconstructions) มักเป็นทางเลือกสุดท้ายในปัจจุบัน แม้ว่าจะได้ผลการรักษามากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งในการผ่าตัดต้องทำโดยศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทั้งนี้แกนองคชาตที่ได้รับความนิยมจะเป็นแบบ 3 ชิ้น คือมี แกน 2 แกน ปั๊มน้ำ และถุงเก็บน้ำ แผลมีขนาดเล็กบริเวณโคนองคชาต และถุงอัณฑะประมาณ 1 นิ้ว การผ่าตัดแก้ไขเส้นเลือดแดงหรือดำที่มีปัญหาเพื่อให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศชายได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นปัญหาของทั้งคู่ ซึ่งควรแก้ปัญหาและรักษาร่วมกัน ควรมีการสื่อสารระหว่างกัน ให้กำลังใจกัน เพื่อช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีความหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็ไม่ควรอาย หรือปิดบังปัญหาที่แท้จริง และปล่อยให้เป็นปัญหาลุกลามสู่ปัญหาสุขภาพจิต เกิดภาวะซึมเศร้า และเกิดปัญหาครอบครัวตามมาในอนาคต