พัฒนาการของทารกในครรภ์

พัฒนาการของทารกในครรภ์

ระยะของการสร้างอวัยวะต่างๆ ของทารก จะเกิดขึ้นในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากนั้นจึงเป็นระยะของการเพิ่มขนาด และพัฒนาอวัยวะต่างๆ เหล่านั้นให้มีขนาดใหญ่ และสมบูรณ์มากขึ้น

  • เดือนที่ 1 พัฒนาระบบประสาทส่วนกลางไปเป็นสมอง และไขสันหลัง
  • เดือนที่ 2 ทารกขนาด 2.5 ซม. หัวโต มีแขน ขา เป็นตุ่มเล็กๆ หัวใจเต้นชัดเจน
  • เดือนที่ 3 ความยาว 9 ซม. หัวยังโตเมื่อเทียบกับลำตัว แขน ขาชัดเจน แกว่งแขน เหยียดขาได้ หัวใจพัฒนาสมบูรณ์
  • เดือนที่ 4 ความยาว 16 ซม. น้ำหนักประมาณ 100 กรัม อวัยวะต่างๆ พัฒนาเกือบครบทุกระบบ อวัยวะเพศสมบูรณ์ แต่ยังเห็นไม่ชัด ด้วยการอัลตราซาวด์
  • เดือนที่ 5 ขนาดยาว 23-30 ซม. น้ำหนักประมาณ 300 กรัม มีเส้นผมที่หนังศีรษะ แต่เปลือกตายังปิด เริ่มมีการเตะ ถีบ หมุนตัวไปมา คุณแม่ท้องแรก เริ่มรับความรู้สึกได้ เด็กจะเริ่มสร้างไขขึ้นมาห่อหุ้มร่างกาย หรือที่เรียกว่า “เวอร์นิกซ์ เคซิโอซา” (Vernix Caseosa) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวทารก ป้องกันการเสียความร้อนให้ทารกหลังคลอด ป้องกันแบคทีเรียผ่านสู่ผิวทารก และยังเป็นสารหล่อลื่น ช่วยให้ทารกคลอดออกมาได้ง่ายขึ้น
  • เดือนที่ 6 ยาวประมาณ 30-35 ซม. น้ำหนัก 600 กรัม ปอดเริ่มทำงาน เปลือกตาเริ่มเปิดได้ เริ่มได้ยินเสียง มีลายนิ้วมือนิ้วเท้า
  • เดือนที่ 7 ยาวขนาด 35-40 ซม. น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังชุ่มชื้น จากต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มทำงาน
  • เดือนที่ 8 ลำตัวยาว 40-45 ซม น้ำหนักประมาณ 1,600 กรัม ปอดทำงานได้ดีขึ้น ผิวหนังสีชมพูแดง แต่ยังเหี่ยวย่นเพราะยังมีไขมันน้อย
  • เดือนที่ 9 ขนาดยาวประมาณ 45-50 ซม. เป็นช่วงที่ทารกเติบโตเต็มที่ ผิวหนังเรียบ ไขขาวที่ห่อหุ้มตัวเด็กจะน้อยลง ปอดทำงานได้สมบูรณ์เต็มที่

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




Loading...