ถ้าหากถามว่ามะเร็งชนิดใดที่คร่าชีวิตคนได้มากที่สุด อันดับแรก ๆ คงหนีไม่พ้น “มะเร็งปอด” อย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย และทั่วโลก ความน่ากลัวของมะเร็งปอด คือ ต่อให้ไม่ได้สูบบุหรี่ก็สามารถที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้ และที่สำคัญมะเร็งปอดลุกลามค่อนข้างรวดเร็ว และถ้าหากตรวจพบมะเร็งปอดในระยะท้าย ๆ ก็ยากที่จะทำการรักษา หรือประคองอาการไม่ให้ลุกลามได้ เพราะฉะนั้นยิ่งพบเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
ประเภทของโรคมะเร็งปอด
มะเร็งปอดแบ่งได้ทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) : มะเร็งปอดชนิดนี้จะพบอยู่ที่ 80% – 85% ของ
ผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งสามารถตรวจพบได้ง่าย และการลุกลามของโรคจะช้ากว่าชนิดเซลล์เล็ก ถ้าหากพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็จะมีโอกาสรักษาหายได้ - มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) : ถือว่าเป็นมะเร็งปอดที่พบได้น้อย เพราะมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้เพียง 10% – 15% เท่านั้น แต่เป็นชนิดที่มีอัตราการแพร่กระจายได้ไวและรุนแรงมาก ซึ่งพบเยอะในผู้ป่วยที่มีประวัติสูบบุหรี่ และการรักษาต้องใช้การฉายรังสีและเคมีบำบัด
ไม่สูบบุหรี่แต่เป็นมะเร็งปอดได้จริงหรือ?
และหากถามว่าไม่สูบบุหรี่แล้วทำไมถึงยังมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้อีก คำตอบคือ ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มาเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งปอด แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม โดยเฉพาะการรับสารก่อมะเร็งจำพวกสารเคมีต่าง ๆ เช่น สารเดรอน แร่ใยหินหรือ
แอสเบสตอส สารเคมีหนักอื่น ๆ การได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ตัว พันธุกรรมที่ผิดปกติ รวมถึงฝุ่น PM2.5 ก็เป็นหนึ่ง ในสารก่อมะเร็งปอดขนาดเล็กด้วยเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่มาเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งปอด แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม โดยเฉพาะการรับสารก่อมะเร็งจำพวกสารเคมีต่าง ๆ เช่น สารเดรอน แร่ใยหินหรือแอสเบสตอส สารเคมีหนักอื่น ๆ การได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ตัว พันธุกรรมที่ผิดปกติ รวมถึงฝุ่น PM2.5 ก็เป็นหนึ่ง
ในสารก่อมะเร็งปอดขนาดเล็กด้วยเช่นกัน
ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปอด
มะเร็งปอดนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ภายในปอดที่ลุกลาม
อย่างรวดเร็ว จนก่อตัวของเนื้องอกที่ทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ภายในปอดและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งมาจากปัจจัยที่หลากหลาย โดยจำแนกได้เป็นปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายในที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด
- พันธุกรรม (Genetics) : หนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอดโดยอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเซลล์มะเร็ง หรืออาจมาจากคนในครอบครัวมีประวัติการป่วยเป็นมะเร็งปอด - บุคคลที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ : เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/AIDS หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาจมีความเสี่ยงสูง
กว่าคนทั่วไป - อายุ : โดยมากมักจะพบในบุคคลที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และพบว่าเพศหญิงเป็นมะเร็งปอดชนิด “อะดีโนคาร์ซิโนมา” (Adenocarcinoma) ได้มากกว่าผู้ชาย แม้ไม่ได้สูบบุหรี่
- โรคปอดบางชนิด : ในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หรือ วัณโรค (Tuberculosis) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดมากขึ้นกว่าปกติ
ปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด
- การสูบบุหรี่ (Smoking) : ปัจจัยอันดับหนึ่งของการเกิดมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่
มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 70 ชนิด ยิ่งสูบบุหรี่มานานและมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ - ควันบุหรี่มือสอง (Secondhand Smoke) : ถึงแม้ไม่ได้เป็นบุคคลที่สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น
เป็นประจำก็เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดได้ - มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) : การสัมผัสกับมลพิษที่มักจะเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ควันจากท่อไอเสียของยานพาหนะ ควันพิษจากโรงงาน หรือการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่าง ๆ
- รังสีบำบัด (Radiation Therapy) : การได้รับรังสีบำบัดบริเวณทรวงอกเพื่อรักษามะเร็งชนิดอื่น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด (Certain Viral Infections) : เช่น เชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus)
ในปอด แม้ว่าจะพบได้น้อยแต่ก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน
อาการมะเร็งปอด
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่ามะเร็งชนิดนี้อาจจะไม่ได้แสดงอาการในระยะแรก ๆ ให้เห็นอย่างชัดเจนมากนัก
แต่ก็สามารถสังเกตอาการมะเร็งปอดได้จากอาการเหล่านี้
- มีอาการไอแห้ง ๆ เรื้อรังหรือนานกว่าปกติ อาจมีเสมหะหรือเลือดออกเป็นสาย ๆ ปะปนกันออกมา
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ตัวซีด ร่างกายอ่อนเพลีย
- ตรวจพบอาการปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก
ถึงแม้บางอาการมะเร็งปอด อาจไม่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์เนื่องจากคิดว่าเป็นอาการป่วยของโรคอื่น แต่ถ้าหากลุกลามไปมากแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายก็จะลดลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นหากมีอาการดังกล่าว หรือสงสัยว่าตกอยู่ในความเสี่ยง ควรตัดสินใจมาพบแพทย์และตรวจร่างกายให้เร็วที่สุด
อาการไอของผู้ป่วยมะเร็งปอด
อาการไอของผู้ป่วยมะเร็งปอดสามารถแสดงออกได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและการลุกลาม ของมะเร็ง โดยอาการไอมักเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งปอด และมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะสังเกตได้ดังนี้
- เสียงไออาจเปลี่ยนไป เช่น ไอแหบหรือเสียงทุ้มขึ้น
- ไอมีเสมหะปนเลือด ซึ่งถ้าเกิดอาการนี้ควรที่จะเข้ามาพบแพทย์โดยทันที
- ไอแห้งและบ่อยในเวลากลางคืน
- ไอนานกว่า 3 สัปดาห์ และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
มะเร็งปอดอาการเริ่มแรก เป็นอย่างไร?
จากอาการทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณของมะเร็งปอดอาการเริ่มแรก ที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ถึงแม้จะพบเพียง 1 หรือ 2 อาการก็ควรที่จะมาตรวจเช็กร่างกายให้เร็วที่สุด เพราะถ้าหากพบเชื้อมะเร็งปอดจะได้รีบทำวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที
มะเร็งปอด มีกี่ระยะ
มะเร็งปอดสามารถแบ่งระยะได้จากทั้ง 2 ชนิดของมะเร็ง ดังนี้
- ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กมีทั้งหมด 4 ระยะ
-
- ระยะที่ 1 : ก้อนมะเร็งโตขึ้น เส้นผ่าศูนย์กลางบวก-ลบประมาณ 5 เซนติเมตร และยังไม่ลามไปยัง
ต่อมน้ำเหลือง - ระยะที่ 2 : ก้อนมะเร็งมีขนาดเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เซนติเมตร อาจลุกลามไปที่เยื่อหุ้มปอดชั้นนอกและผนังหน้าอก รวมถึงอาจเกิดการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ กับก้อนมะเร็ง
- ระยะที่ 3 : มะเร็งมีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง แพร่ไปยังปอดกลีบอื่น ๆ ในข้างเดียวกัน
- ระยะที่ 4 : มะเร็งกระจายออกไปนอกช่องอกที่เป็นจุดเริ่มต้น ลามไปที่เยื่อหุ้มปอด และแพร่ไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ กระดูก ต่อมน้ำเหลืองที่คอ และสมอง เป็นต้น
- ระยะที่ 1 : ก้อนมะเร็งโตขึ้น เส้นผ่าศูนย์กลางบวก-ลบประมาณ 5 เซนติเมตร และยังไม่ลามไปยัง
- ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กมีทั้งหมด 2 ระยะ
-
- ระยะจำกัด (Limited-Stage) : ระยะที่พบมะเร็งในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ข้างเคียงเท่านั้น
- ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) : พบมะเร็งแพร่ออกนอกบริเวณทรวงอกข้างที่เป็น หรือกระจายจากปอดไปยังอวัยวะต่าง ๆ
มะเร็งปอด มีวิธีการตรวจพบได้อย่างไรบ้าง?
ตรวจโดยวิธีการ Precision Cancer Medicine หรือการตรวจความผิดปกติระดับพันธุกรรม วินิจฉัยลึก ถึงการกลายพันธุ์ ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็ง ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถที่จะกำหนดวิธีการรักษา รวมถึง การเลือกใช้ยาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แบบรายบุคคลได้
CT Low Dose การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะแรก โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ และใช้วิธีการถ่ายภาพสามมิติที่ให้ความละเอียดกว่าการเอกซเรย์ทั่ว ๆ ไป ทำให้สามารถที่จะหาภาวะความผิดปกติของมะเร็งปอดในระยะแรกได้ดีกว่า
ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคมะเร็งในแต่ละส่วนอย่างละเอียด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสรักษา อีกทั้งยังลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอีกด้วย
มะเร็งปอด รักษาหาย ไหม
เมื่อถามถึงการรักษาโรคมะเร็งว่ามะเร็งปอด รักษาหาย ไหม คำตอบที่มักจะเจอและคุ้นหู คือ ไม่สามารถรักษาได้ถ้าหากพบในระยะท้าย ๆ ของโรค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งระยะของมะเร็ง ชนิดของมะเร็ง และที่สำคัญ คือ สภาพร่างกายของผู้ป่วย ถ้าหากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ แพทย์ก็สามารถที่จะวางแผนการรักษาโดยการใช้วิธี
ต่าง ๆ เช่น การผ่าตัดส่องกล้อง ใช้รังสีหรือการฉายแสงในการรักษา รวมถึงใช้ให้หายขาดได้นั่นเอง
สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะด้วยสาเหตุหรือปัจจัยใด ๆ ทางโรงพยาบาลพญาไท 1 อยากให้ทุก ๆ ท่านดูแลทั้งตัวเองและคนรอบข้าง ไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ หรือการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอด และถ้าหากท่านใดมีความสงสัยในอาการต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา หรือมีคนรอบข้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ สามารถมาเข้ารับการตรวจคัดกรองจากทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญของเรา ได้ที่ ศูนย์มะเร็งชีวีสุข อาคาร 1 ชั้น 3 โรงพยาบาลพญาไท 1 ยิ่งตรวจไวเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะการพบมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายได้ ทีมแพทย์ของเรายินดีให้บริการและรักษาอย่างเต็มที่ เพื่อสุขภาพ ที่ดีและร่างกายที่แข็งแรงของทุกคน