โพแทสเซียมในอาหาร คุณประโยชน์และข้อควรระวัง

พญาไท 2

3 นาที

อ. 27/02/2024

แชร์


Loading...
โพแทสเซียมในอาหาร คุณประโยชน์และข้อควรระวัง

เป็นแร่ราตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญให้ร่างกายทำงานได้ปกติ ดังนี้

  • ช่วยในการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ควบคุมสมดุลอิเล็กโตรไลต์ และสมดุลกรด-เบส
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือดได้

เกณฑ์ในการจำแนกระดับโพแทสเซียม

ระดับโพแทสเซียมในเลือด

ความหมาย

อาการแสดง

<3.5 *mEq/L ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
>5.0 *mEq/L ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจหยุดเต้น

เพื่อป้องกันภาวะ

  • ควรจำกัดการได้รับโพแทสเซียมจากอาหารอยู่ที่ 2,000 มิลลิกรัม/วัน
  • รักษาระดับโพแทสเซียมในเลือดให้อยู่ในช่วง 5 – 5.0 mEq/L

เราจะสามารถควบคุมระดับโพแทสเซียมในเลือดได้อย่างไ ?

  • ควบคุม
  • ยาขับ
  • ฟอก

โพแทสเซียมในอาหาร แบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภท

จากแหล่ง

ส่วนประกอบสารสังเคราะห์จากการเติมสารประกอบของโพแทสเซียม

ผัก โพแทสเซียมคลอไรด์ เครื่องปรุงที่ลดโซเดียม
ผลไม้ โพแทสเซียมคาร์บอเนต บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
นม โพแทสเซียมฟอสเฟส นมผง ครีมผง ไอศกรีม
ธัญพืช โพแทสเซียมไบทาร์เทรต ผงฟู ในขนมอบ

 

หมวดผัก

ผัก ปริมาณ 1 ส่วนเท่ากับ ผักสุก 1 ทัพพี หรือ ผักดิบ 2 ทัพพี (100 กรัม)

ผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง

(100-200 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

ผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูง

(250-350 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

แตงกวา

แตงร้าน

ฟักเขียว

ฟักแม้ว

บวบ

มะระ

มะเขือยาว

มะละกอดิบ

ถั่วแขก

หอมใหญ่

กะหล่ำปลี

ผักกาดแก้ว

ผักกาดหอม

พริกหวาน

พริกหยวก

เห็ด

หน่อไม้ฝรั่ง

บรอกโคลี

ดอกกะหล่ำ

แครอท

แขนงกะหล่ำ

ผักโขม

ผักบุ้ง

ผักกาดขาว

ผักคะน้า

ผักกวางตุ้ง

ยอดฟักแม้ว

ใบแค

ใบคืนช่าย

มันเทศ

มันฝรั่ง

ฟักทอง

อโวคาโด

น้ำแครอท

น้ำมะเขือเทศ

กระเจี๊ยบ

หัวปลี

หน่อไม้

 

หมวดผลไม้

ผลไม้ ปริมาณ 1 ส่วน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดผลไม้ (น้ำหนักเฉพาะส่วนที่รับประทานได้)

ผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง

(100-200 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

ผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูง

(250-350 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

แอปเปิล 1 ผล

สับปะรด 5 ชิ้นคำ

ลองกอง 8 ผล

ส้มโอ 2 กลีบ

เงาะ 4 ผล

ชมพู่ 2 ผล

พุทรา 6 ผลเล็ก

มังคุด 4 ผลเล็ก

องุ่นเขียว 15 ผลเล็ก

กล้วยน้ำว้า 1 ผล

กีวี 1 ผลเล็ก

แคนตาลูป 8 ชิ้น

มะละกอสุก 5 ชิ้นคำ

ส้มเขียวหวาน 1 ผล

แตงโม 10 ชิ้นคำ

มะม่วงสุก/ดิบ 12

แก้วมังกร 5 – 6 ชิ้น

ฝรั่ง 1 ลูกเล็ก

น้ำผักผลไม้ต่าง ๆ 12 แก้ว

กล้วยหอม 1/2 ผล

กล้วยตาก 1 ชิ้นกลาง

ขนุน 2 ยวงเล็ก

ทุเรียน 1 พูเล็ก

น้อยหน่า 1 ผลกลาง

กระท้อน 1/2 ผล

ลำไย 5 ผล

ลูกพลับ 1 ผลกลาง

ลูกพรุน 3 ผล

ลูกเกด 2 ช้อนโต๊ะ

มะเฟือง 1 ผล

มะปราง 6 ผลเล็ก

มะขามหวาน 2 ฝัก

ฮันนี่ดิว 1/8 ผล

สตรอว์เบอร์รี 6 ผล

อินทผลัม 20 กรัม

หมวดอาหาร

ตารางแสดงปริมาณโพแทสเซียมต่ออาหารที่รับประทานได้ 100 กรัม

หมวดอาหาร โพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง

(100 – 200 มิลลิกรัม)

โพแทสเซียมสูง

(250-350 มิลลิกรัม)

ข้าวและผลิตภัณฑ์

จากข้าวแป้ง

ขนมจีน

ข้าวขาว

ขนมปังกระเทียม

ข้าวเหนียวนึ่ง

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่

บะหมี่

ขนมปังบิสกิต

ข้าวกล้อง

ขนมปังโฮลวีท

เนื้อสัตว์ หอยนางรม

เต้าหู้ไข่ไก่

หอยแมลงภู่

เต้าหู้เหลืองแข็ง

ปลาหมึก

หอยแครง

ไข่ไก่ (ไข่แดง)

ไข่ไก่ (ไข่ขาว)

ปลากะพงแดง

ตับไก่

ไข่เป็ด (ทั้งฟอง)

อกไก่

ปลาสลิด

เนื้อวัว

ตับวัว ตับหมู

ขาหมู หมูสับ

ปลากะพงขาว

หมูยอ

ปลาสำลี

ปลาอินทรีย์

ไข่ปลา

ปลาช่อน

ปลาทู

ปลาแซลมอน

แฮม

นม นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม

โยเกิร์ต

นมพร่องมันเนย

นมผง
ถั่วและธัญพืช แมคาเดเมีย ถั่วแระ

แปะก๊วย อัลมอนด์

ถั่วลิสง เม็ดฟักทอง ถั่วแดง

ถั่วขาว ถั่วดำ ถั่วเขียวแห้ง

มะม่วงหิมพานต์ เกาลัด

 

ผัก ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ผลไม้โพแทสเซียมสูง มักมีรสชาติหวานจัด หรือเปรี้ยวจัด เนื้อแน่น และนิ่ม หรือมีสีสวยสด
  • ผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป และน้ำผลไม้มีความเข้มข้นโพแทสเซียมสูง
  • ผักที่มีสีสวยสด และพืชหัว จะได้ปุ๋ยโพแทสเซียม เร่งสี เร่งผล จึงมีโพแทสเซียมสูง

ระวัง ! !…เครื่องปรุงรสที่ลดโซเดียม

เค็มเท่าเดิม เพิ่มเติม คือ “โพแทสเซียม”

เครื่องปรุงรสสูตรลดโซเดียม

โพแทสเซียม/1 ช้อนโต๊ะ

น้ำปลาลดโซเดียม 40% มิลลิกรัม มิลลิอิควิวาเลนต์
ซีอิ๊วลดโซเดียม 40% 875 22.4
น้ำจิ้มไก่ลดโซเดียม 40% 700 18
ซอสพริกลดโซเดียม 40% 350 9
ซอสมะเขือเทศลดโซเดียม 40% 210 5.4 

งด/หลีกเลี่ยง การใช้ในผู้ป่วยรคไตบางระยะที่ไม่สามารถขับไพแทสเซียมออกจากร่างกายได้ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจ

เทคนิค ลด “โพแทสเซียม”

  1. เลือกกลุ่มผักโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง รวมกันวันละ 3 ทัพพี
  2. เลือกกลุ่มผลไม้โพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง รวมกันวันละ 1-2 ส่วน
  3. การหั่นผักเป็นชิ้นเล็ก แล้วต้มในน้ำ จะเป็นการลดปริมาณโพแทสเซียมลง เนื่องจากโพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ แต่วิธีการนี้ก็จะทำให้สูญเสียวิตามินบางชนิดไปกับน้ำและความร้อน การทอดไม่ได้ทำให้โพแทสเซียมสลายไป
  4. การรับประทานผัก ผลไม้ กลุ่มโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลางปริมาณมาก จะส่งผลทำให้ได้รับปริมาณโพแทสเซียมสูงได้
  5. สามารถใช้ผักโพแทสเซียมสูงถ้าใช้ในปริมาณน้อยมาก ๆ ได้ในบางกรณี เช่น ขิงซอยโรยหน้าข้าวต้ม กระเทียมใส่ในผัดผัก
  6. หลีกเลี่ยงน้ำผักผลไม้ ผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป
  7. งดการใช้เครื่องปรุงที่ลดโซเดียม

** ในบางกรณีแพทย์/นักกำหนดอาหารอาจพิจารณาให้งดผัก ผลไม้ หากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์

 

เอกสารอ้างอิง

  1. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.กรุงเทพมหานคร.
  2. ญานินี เจิดรังษี. คู่มือแนะนำปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร. สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
  3. ริญ เจริญศิริ, รัชนี คงคาฉุยฉาย. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพมหานคร : สารคดี, 2554.
  4. สมาคมโรคโตแห่งประเทศไทย, คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.
  5. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสำหรับประชาชน ทำอย่างไรไตไม่วาย?. กรุงเทพมหานคร.
  6. Potassium and Your CKD Diet. National Kidney Foundation. Availabl https://www.kidney.org/atoz/content/potassium (Accessed 10 October 2019).

 

ติอต่อและรับคำปรึกษาได้ที่

หน่วยโภชนบำบัด แผนกโภชนาการ โรงพยาบาลพญาไท 2

โทรศัพท์ 0-2617-2444 ต่อ 3130 ( เวลา 08.00-18.00 น.)

 

ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 14 อาคาร A โทร. 02-617-2444 ต่อ 1683, 1684

อ้างอิง

คู่มือ สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
จัดทำโดย
สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยโรคไต ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

 


แชร์

Loading...
Loading...
Loading...