ปวดท้องน้อย เสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง?

พญาไท พหลโยธิน

1 นาที

ศ. 12/01/2024

แชร์


Loading...
ปวดท้องน้อย เสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง?

เชื่อว่าในชีวิตของลูกผู้หญิงหลายคนจะต้องเคยมีประสบการณ์ปวดท้องน้อยกันบ้าง อาจะปวดน้อย ปวดมาก แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่แต่ละบุคคลในระหว่างที่มีประจำเดือน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องปกติของของเดือนเสมอไป หากมาพร้อมกับอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังทุกวัน รอบเดือนมากผิดปกติ ปวดหน่วงๆ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆได้ การปวดท้องน้อย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งแบบเรื้อรัง และทันทีทันใด ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกัน สาเหตุหลักมักเกิดจากความผิดปกติของมดลูก รวมไปถึงช่องคลอด และรังไข่ เรามาดูกันดีกว่าว่าอาการปวดท้องน้อยบอกอะไรกับสาวๆ ได้บ้าง

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมา โดยปกติแล้วจะไหลออกไปทางช่องคลอด แต่ไหลออกไปไม่หมด ทำให้เกิดการไหลย้อนกลับไปฝังตัวและเจริญเติบโตที่ท่อนำไข่ หรือรังไข่ เกิดเป็นอาการอักเสบ และพังผืด ส่งผลให้เลือดที่ไหลออกมาถูกขัง และสะสมจนกลายเป็นถุงน้ำ หรือที่เราเรียกกันว่า ช็อกโกแลตซีสต์ ทำให้ให้มีอาการปวดท้อง และประจำเดือนมามากผิดปกติ
  • เนื้องอกในมดลูก เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในสาวๆ โดยส่วนมากจะเป็นในช่วงอายุ 30-50 ปี เกิดการเซลล์กล้ามเนื้อเกิดแบ่งตัว และเจริญเติบโตมากผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้อแทรกอยู่ในมดลูก ทำให้ประจำเดือนมามาก ปวดท้องขณะที่มีประจำเดือน รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย บางคนอาจมีอาการปัสสาวะลำบาก หรือมีอาการท้องผูกได้
  • ถุงน้ำ หรือซีสต์ที่รังไข่ เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเซลล์ในรังไข่เองมักพบได้ 2 ชนิด คือถุงน้ำที่เกิดจากเซลล์ผิวของรังไข่ และถุงน้ำที่เกิดจากเซลล์ผิวหนัง ในระยะแรกมักไม่มีอาการชัดเจน อาจเกิดอาการปวดท้องเป็นพักๆ แต่ถ้าถุงน้ำมีการขยายใหญ่ขึ้นอาจเกิดการแกว่งแ ละบิดตัว จนทำให้เกิดอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน และถ้าหากอาการบิดรุนแรงมากจนทำให้เลือดคั่งในรังไข่ อาจทำให้ปวดจนทนไม่ได้
  • การปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain) โดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากปวดแบบเป็นๆ หายๆ กระทั่งปวดตลอดเวลา หรืออาจจะปวดหน่วงๆ เป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ บางรายปวดร่วมกับการมีประจำเดือน ตามหลักเมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึก ถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอกมดลูก (ถ้าก้อนโตมากๆ อาจคลำได้ก้อนที่บริเวณท้องน้อย หรือมีอาการท้องโตคล้ายคนท้อง) ซีสต์ที่รังไข่ และ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ อาการปวดมักจะเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3-6 เดือน มีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือมีประจำเดือนออกมาก หรือนานผิดปกติ บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายปัสสาวะ หรือร่วมเพศ และอาจคลำเจอก้อนเนื้อที่ท้องน้อย
  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นลม สาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุ หรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว ที่พบได้บ่อยๆ เช่นการอักเสบต่างๆ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหากเกี่ยวข้องกับมดลูกอักเสบ โดยทั่วไปสังเกตได้จากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดหลังร่วมด้วย

 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการ “ปวดท้องน้อย” ที่เป็นมาจากสาเหตุใด?

สาเหตุของการปวดท้องน้อยมีหลายอย่าง หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาต่อไป ปัจจุบันการค้นหาโรคจากความผิดปกติทำได้ไม่ยุ่งยาก และเสียเวลา เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของมดลูก และปีกมดลูกได้ การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

 

 

การรักษามีวิธีการอะไรบ้าง?

เมื่อทราบสาเหตุแล้ว ทางเลือกการรักษาเริ่มจากการใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดการอักเสบ หรือฮอร์โมน การผ่าตัด เช่น ขึ้นอยู่กับอาการ ความเหมาะสม และวิจารญาณของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม การปวดท้องน้อยมีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง เมื่อเกิดแล้วไม่ควรมองข้าม ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง


แชร์

Loading...
Loading...
Loading...