ศูนย์โรคกรดไหลย้อนและการกลืน icon

ศูนย์โรคกรดไหลย้อนและการกลืน

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ( GERD-เกิร์ด ) เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการรับประทานอาหาร การนอน และลักษณะนิสัยต่าง ๆ ซึ่งทำให้โรคกรดไหลย้อนมีการแสดงอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและนั่นส่งผลให้เกิดพังผืดหลอดอาหารตีบ ที่อาจรุนแรงถึงขั้นกลายเป็น “มะเร็งหลอดอาหาร” ได้

รู้ให้ลึก! “โรคกรดไหลย้อน”คืออะไร?

โรคกรดไหลย้อน ( GERD-เกิร์ด ) คือ อาการที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารโดยภาวะกรดไหลย้อนนี้ หากปล่อยเรื้อรังจะทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดอาหาร เช่นหลอดอาหารอักเสบ ทำให้มีเลือดออกจากหลอดอาหาร และอาจส่งผลให้ปลายหลอดอาหารตีบได้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร…ที่อาจรุนแรงถึงขั้นกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

โรคกรดไหลย้อน มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร ทำให้ความดันของหลอดอาหารต่ำลงหรือบ่อยกว่าปกติ ซึ่งมักเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่  การรับประทานอาหารและยาบางชนิด ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ความเครียด หรือเกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น

อาการบ่งชี้…ว่าคุณอาจกำลังเป็น “โรคกรดไหลย้อน”

อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร

    1. กลืนลำบาก ติดขัด คล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือกลืนเจ็บ
    2. เจ็บคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอ โดยเฉพาะในตอนเช้า หรือระคายคอ ตลอดเวลา
    3. อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้
    4. เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหารหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอกหรือคอ
    5. รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอ หรือปาก

อาการนอกระบบหลอดอาหาร

  1. มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
  2. เป็นหวัดเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
  3. มีอาการไอเรื้อรัง รู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน จนอาจทำให้ต้องตื่นกลางดึก
  4. อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่ (ถ้ามี) แย่ลง หรือไม่ดีขึ้นจากการใช้ยา เจ็บหน้าอก โรคปอดอักเสบ เป็น ๆ หาย ๆ

ตรวจใช้ชัวร์…อาการที่เป็นใช่ “โรคกรดไหลย้อน” หรือเปล่า

เพราะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารมักมีอาการใกล้เคียงกัน หากไม่แน่ใจในอาการที่เป็น…อาจเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีเหล่านี้!

    1. การตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร ( Esophageal manometry )
    2. การตรวจวัดการไหลย้อนของกรดที่หลอดอาหาร ( Esophageal pH monitoring )
    3. การส่องกล้องตรวจในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ( Gastroscopy )

ปรับพฤติกรรม ขั้นแรกของการรักษา “โรคกรดไหลย้อน”

1. การปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน

    1. พยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียด
    2. งดการสูบบุหรี่
    3. หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับหรือรัดแน่น โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
    4. พยายามลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน
    5. ถ้ามีอาการท้องผูก ควรรักษาและหลีกเลี่ยงการเบ่ง
    6. หลีกเลี่ยงการนอนราบ  ออกกำลัง  การยกของหนัก การเอี้ยวหรือก้มตัว หลังจากรับประทานอาหารทันที หรืออย่างน้อยควรห่างกัน 3 ชม.

2. การปรับเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหาร

    1. รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ฟาสต์ฟู้ด
    2. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม peppermints เนย ไข่ นมหรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด  กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
    3. รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มแน่นท้องมาก

3. การปรับเปลี่ยนนิสัยการนอน

  • เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ

หากรักษาด้วยการใช้ยา…ควรปฏิบัติ ดังนี้

เพราะประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการของ GERD สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา ดังนั้น..การใช้ยาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ

    1. รับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยาหรือหยุดยาเอง และมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องเพื่อปรับขนาดยา
    2. อย่าซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น

การผ่าตัด…อีกทางเลือกในการรักษากรดไหลย้อน

ในการเริ่มต้นการรักษา “โรคกรดไหลย้อน” ผู้ป่วยมักเลือกวิธีการทานยาลดกรดเพื่อลดอาการ หากติดตามอาการแล้วพบว่าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือผู้ป่วยที่ไม่ต้องการทานยาเพื่อควบคุมอาการไปตลอด “การผ่าตัดหูรูดอาหาร” จึงเป็นอีกทางเลือกในการรักษากรดไหลย้อน…ที่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและตรงจุด! แต่ทั้งนี้จะต้องทำ “แบบทดสอบ” ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัดหูรูดกระเพาะอาหาร

 

Loading...


Loading...
Loading...
Loading...