
พญ. จันทิมา อารยางกูร
พญ. จันทิมา อารยางกูร
ข้อมูลทั่วไป
“เราถูกสอนตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษาว่าเราต้องดูแลคนไข้เหมือนญาติ
และเข้าใจคนไข้เหมือนเข้าใจญาติของตัวเอง
ถ้าเรามองเขาเป็นคนอื่น เป็นคนไข้ หรือเป็นแค่คนที่ผ่านมาแล้วผ่านไป
เราก็จะรู้จักแค่โรคของเขา แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาเป็นอยู่”
จากเด็กที่เข้าออกโรงพยาบาลบ่อยๆ สู่แรงบันดาลใจของการเป็นแพทย์
พญ. จันทิมา อารยางกูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน โสต ศอ นาสิก และการผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลำคอ เล่าว่า “แรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นแพทย์ มาจากสุขภาพที่ไม่แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก ความป่วยไข้ในช่วงนั้นทำให้คุณหมอต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ และต้องไปพบเพื่อนของคุณพ่อซึ่งเป็นแพทย์อยู่เสมอ การมีคนใกล้ชิดเป็นแพทย์และความคุ้นเคยกับโรงพยาบาล ทำให้เธอเห็นคุณค่าของชีวิต และอยากเป็นคนที่ช่วยเหลือครอบครัวและคนรอบข้างได้”
เมื่อเข้ามาเป็นนักเรียนแพทย์ คุณหมอจันทิมาก็ค้นพบว่าการทำหัตถการคืองานที่ตัวเองถนัด เมื่อได้มาฝึกงานที่ราชวิถี ได้เรียนรู้งานจากแผนกหูคอจมูก ซึ่งมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง คอยให้คำแนะนำ จึงยิ่งค้นพบความชอบของตัวเอง และกลับมาศึกษาต่อด้านหูคอจมูกที่โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญในการรักษาโรคมะเร็งหูคอจมูก
หลังจากเป็นแพทย์ไปสักระยะก็ได้ศึกษาต่อเกี่ยวกับการผ่าตัดคนไข้ที่มีภาวะทางหู เช่น โรคหูน้ำหนวก แก้วหูทะลุ และโรคที่เกี่ยวกับการได้ยิน ที่ประเทศเบลเยี่ยม จึงทำให้คุณหมอจันทิมามีความเชี่ยวชาญถึง 2 ด้าน คือ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ และการผ่าตัดคนไข้ที่มีภาวะทางหู
มะเร็งศีรษะและลำคอ โรคร้ายที่ขาดแคลนแพทย์ในไทย
“โรคมะเร็งศีรษะและลำคอเป็นโรคที่คนไข้เป็นกันเยอะมาก แต่กลับเป็นโรคที่มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญน้อย ตอนเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลราชวิถีเราก็ได้เห็นว่าความต้องการในการรักษาของคนไข้มีสูงมาก คนไข้จากต่างจังหวัดก็เข้ามารักษาที่นี่เพราะต่างจังหวัดไม่มีทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึงเท่าไร ปัจจุบันมีแพทย์ด้านนี้เพิ่มมากขึ้นแล้ว เพราะมีแพทย์เรียนต่อด้านนี้มากขึ้น และกลับไปอยู่ตามโรงพยาบาลต่างจังหวัด ซึ่งการผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลำคอมีความยากตรงที่การผ่าตัดมะเร็งส่วนนี้มักจะเป็นการผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลาผ่าตัดนาน และต้องมีทีมที่เชี่ยวชาญในการรักษา จึงเป็นข้อจำกัดของโรงพยาบาลต่างจังหวัด และทำให้คนไข้กลุ่มนี้ต้องรอคิวผ่าตัดเป็นเวลานาน”
การสื่อสารด้วยหัวใจ คือหลักการทำงานที่ยึดถือ
การรักษาคนไข้นอกจากจะใช้ความเชี่ยวชาญในการทำงานแล้ว ยังต้องใช้หัวใจในการสื่อสารเพื่อเข้าให้ถึงความรู้สึกของคนไข้ด้วย
“เราถูกสอนตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษาว่าเราต้องดูแลคนไข้เหมือนญาติ และเข้าใจคนไข้เหมือนเข้าใจญาติของตัวเอง ถ้าเรามองเขาเป็นคนอื่น เป็นคนไข้ หรือเป็นแค่คนที่ผ่านมาแล้วผ่านไป เราก็จะรู้จักแค่โรคของเขา แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาเป็นอยู่ เราจะไม่รู้สภาพจิตใจ สภาพครอบครัว สภาพสังคม หรือเขามีเหตุผลอะไรที่ไม่สามารถมาหาเราได้ ไม่มาผ่าตัด และไม่มาตามนัด ถ้าเราดูแลคนไข้เหมือนเป็นญาติของเรา เราจะคิดเสมอว่าจะดูแลเขาอย่างไรเพื่อให้เขาได้รับการรักษาที่ดีที่สุด สิ่งที่เราทำทั้งหมดนี้มาจากอาจารย์ที่เป็นเหมือนต้นแบบของเรา เขาสอนว่าการดูแลคนไข้ ไม่ใช่แค่ดูว่าเขาเป็นโรคอะไรแล้วรักษาได้เลย เพราะปัจจัยของความป่วยไข้มันไม่ใช่แค่โรคที่เขากำลังเป็นอยู่เท่านั้น แต่มันยังมีปัจจัยอื่นๆ มาร่วมด้วย”
ให้กำลังใจ. . และให้การรักษาอย่างเต็มที่
“สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการให้กำลังใจเขา เพราะมะเร็งเป็นโรคที่รักษาแล้วไม่ได้มีโอกาสหายขาดทุกคน ยิ่งเป็นระยะหลังๆ แล้วโอกาสหายขาดจะยิ่งน้อยมาก แม้ว่าเขาจะมีโอกาสเพียงแค่ 20-30% เราก็ต้องให้กำลังใจคนไข้ และอธิบายความเป็นจริงให้เขารู้นะ คนไข้ต้องรับรู้ว่าเขาเป็นอะไร เพื่อที่เขาจะได้เตรียมตัวและดูแลตัวเอง เพราะว่าเขายังมีโอกาสที่จะหายอยู่ อาจารย์ของหมอจะสอนเสมอว่า ถ้าเราไม่พยายามรักษาเขา ไม่ให้โอกาสให้เขาได้รับการรักษา เราไปคิดว่าเขาเป็นหนักแล้ว รักษาไม่หายหรอก คนไข้ก็หมดโอกาสแล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราพยายามที่จะรักษาเขา เขาก็มีโอกาสในชีวิตที่จะรอด อย่างน้อยถึงไม่หายขาดแต่เขาก็สามารถกลับไปทำอะไรได้หลายอย่างในชีวิต”
คุณหมอจันทิมายังเล่าถึงเคสการรักษาที่ประทับใจให้ฟังว่า “หมอเจอคนไข้คนหนึ่งที่เขาเป็นมะเร็งที่โหนกแก้ม เขามีอาชีพเป็นคนขับแท็กซี่ ปัจจุบันนี้แม้ว่าคนไข้จะเสียไปแล้วแต่เรื่องราวของเขายังอยู่ในใจเราเสมอ ตอนนั้นหมอรู้อยู่แล้วว่าเขามีโอกาสหายน้อยมากตั้งแต่เริ่มรักษา เราผ่าตัดเขาไปได้ประมาณ 1 ปีมะเร็งมันก็ขึ้นมาใหม่ ถึงมะเร็งมันจะขึ้นมาอีกครั้งแต่เขาก็ยังกลับมาขอบคุณเรา เขาขอบคุณที่ช่วยให้เขามีชีวิตได้นานขึ้น ทำให้เขามีเวลากลับไปหาเงินเตรียมตัวให้ลูก เขาบอกว่าอย่างน้อยเขาก็มีเวลากลับไปหาลูก เก็บเงินส่งลูกเรียนจนจบ การรักษาของเรามันทำให้เขามีเวลากลับไปเตรียมตัวเองและเตรียมครอบครัวให้พร้อมกับอนาคต”
การรักษาโรคมะเร็ง ไม่ใช่แค่ทางกาย. . แต่จิตใจคนไข้ก็ต้องดูแล
ความยากในการรักษาโรคมะเร็งไม่ใช่แค่ความซับซ้อนของโรคหรือการรักษาเท่านั้น แต่ยากในทุกขั้นตอนที่หมอและคนไข้ต้องสู้กับโรคนี้ไปด้วยกัน
“ในเรื่องของสภาพจิตใจ มันยากมากเลยนะที่หมอจะบอกคนไข้ว่าเขาเป็นมะเร็ง เพราะหลายคนที่รู้แล้วเขาจะรู้สึกท้อแท้และหมดหวังในชีวิตไปเลย และพอเราแจ้งเขาแล้ว เราก็ต้องหาวิธีคุยกับคนไข้ให้ได้ ต้องบอกการดำเนินโรค และบอกแผนการรักษาทั้งก่อนและหลังให้เขาทราบ ส่วนในเรื่องของการรักษาก็ยากลำบากเช่นเดียวกัน เพราะการผ่าตัดมะเร็งจะใช้เวลานานมาก บางทีผ่าทั้งวัน 10-12 ชั่วโมง เราต้องมีทีมในการดูแลเป็นอย่างดี”
เพราะ “ผ่าตัด” ไม่ใช่จุดสิ้นสุด. . การรักษาโรคมะเร็งจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย
แม้ว่าจะผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออกไปแล้ว แต่หลังผ่าตัดไม่ใช่ว่าทุกอย่างเรียบร้อยไปเสียหมด คนไข้ยังมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เสมอ บางคนก็ต้องมาผ่าตัดซ้ำ บางคนนอนโรงพยาบาลเป็นเดือน หลังผ่าตัดจึงต้องมีการดูแลที่ดีเป็นพิเศษ เพราะหากคนไข้ไม่ดูแลรักษาต่อก็อาจจะทำให้เซลล์มะเร็งลุกลามขึ้นมาอีกได้
“สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับเราคือการดูแลคนไข้ในระยะสุดท้าย เพราะเราไม่สามารถผ่าตัดหรือรักษาให้หายขาดได้แล้ว ในกลุ่มนี้เราค่อนข้างเห็นใจคนไข้และญาติมาก เพราะมะเร็งศีรษะและลำคอมันคือสิ่งที่แสดงออกทางรูปลักษณ์ภายนอกด้วย บางคนจะมีกลิ่นเหม็นในช่องปาก มีแผลเน่าที่คอ ที่ปาก ที่หน้า ซึ่งทำให้เขาไม่กล้าออกไปใช้ชีวิตตามปกติ ไม่พบเจอสังคม บางคนมีท่อเจาะคอ พูดไม่ได้ กินไม่ได้ มันยากที่เราจะให้เขาจากไปโดยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ การคุยกับญาติและสื่อสารกับคนไข้ให้เข้าใจจึงเป็นทางออกเดียวที่ทำให้เขาจากไปอย่างหมดห่วง”
การศึกษา
- 2543 – 2548 แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- 2548 – 2549 Internships, รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก
- 2552 – 2554 ว.โสต ศอ นาสิกวิทยา, ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก รพ.ราชวิถี
- 2554 – 2555 Fellowship in Head & Neck Cancer Surgery, ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก รพ.ราชวิถี
ตารางออกตรวจ
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก
คลินิก หู คอ จมูก