
พญ. ปวีณา บุตรดีวงศ์
ข้อมูลทั่วไป
แพทย์จะต้องให้ข้อมูลกับคนไข้อย่างครบถ้วนและรอบด้าน เพื่อคนไข้จะได้ข้อมูลในการเลือกแผนการรักษาที่เหมาะสม เพราะว่าผลที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลการรักษาหรือภาวะแทรกซ้อน คนไข้คือผู้ที่จะได้รับสิ่งนั้นโดยตรง เราจึงต้องให้คนไข้มีสิทธิ์ในการเลือก เมื่อเราให้ข้อมูลแล้ว ถ้าคนไข้ปฏิเสธที่จะทำหรือไม่ยอมรับการรักษา เราก็ไม่ต้องไปโกรธเขา แต่เราต้องมองว่าทำไมเขาถึงปฏิเสธ เขามีข้อจำกัดอะไรหรือไม่เข้าใจในจุดไหนหรือเปล่า หมอต้องสร้างความเข้าใจที่ดีเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดให้กับคนไข้
หลังจาก พญ. ปวีณา บุตรดีวงศ์ จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แล้ว คุณหมอได้ไปเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลในจังหวัดปัตตานี อยู่ 3 ปี ต่อมาในปี 2546 จึงได้ย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จ. ฉะเชิงเทรา และได้ศึกษาต่อวุฒิบัตรสูติ-นรีเวช ที่โรงพยาบาลราชวิถี ปัจจุบันคุณหมอออกตรวจที่ศูนย์สูติ-นรีเวชกรรม รพ. พญาไท นวมินทร์ โดยคุณหมอเล่าให้ฟังว่า. . .
“หมอชอบทั้งการทำหัตถการและการผ่าตัด เมื่อชอบการผ่าตัดผนวกกับชอบเด็กทารก เพราะได้ทำคลอดในแผนกสูติบ่อยๆ ก็รู้สึกว่าเด็กน่ารักดี จึงตัดสินใจเลือกเรียนต่อทางด้านสูติ-นรีเวช ในช่วงที่อยู่โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว ก็มีโอกาสได้ช่วยสูติแพทย์รุ่นพี่ ช่วงนั้นได้เรียนรู้การทำงาน ได้ฝึกทักษะ ได้ลงมือทำจริง พอถึงตอนเรียนจึงพัฒนาได้เร็ว แล้วพอมาเป็นสูติ-นรีแพทย์เต็มตัว ความรับผิดชอบจึงมากขึ้น เพราะนั่นคือหน้าที่คือของเรา ต้องทำให้เต็มที่และมีสติในการทำงาน ดูแลคนไข้ให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของคนไข้และผลการรักษาที่ดี”
สูติ-นรีแพทย์ ดูแลใคร และดูแลอย่างไร?
คนไข้ของคุณหมอปวีณา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ด้านสูติ และด้านนรีเวช สูติก็คือคนไข้ตั้งครรภ์ ซึ่งคุณหมอจะดูแลรับฝากครรภ์ ทำคลอดทั้งแบบคลอดธรรมชาติและผ่าคลอด ในส่วนของนรีเวช จะดูแลรักษาสตรีที่มีความเจ็บป่วยทางโรคที่เกิดกับผู้หญิงโดยเฉพาะ ตั้งแต่ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว ฮอร์โมน การติดเชื้อต่างๆ รวมถึงความผิดปกติในอวัยวะของสตรี เป็นต้น อย่างในกรณีการฝากครรภ์ คุณหมอเล่าว่า. . .
“การตั้งครรภ์ 1 ครั้ง ร่างกายของผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก จึงต้องระวังเรื่องภาวะแทรกซ้อน ฉะนั้นสิ่งที่สูติแพทย์ต้องทำก็คือ ดูว่าคนไข้มีความเสี่ยงอะไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน ต้องรักษาหรือประคับประคองความเสี่ยงนั้นไม่ให้รุนแรง ดูแลเรื่องภาวะแทรกซ้อนให้เกิดน้อยที่สุด และช่วยให้คุณแม่ได้คลอดในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยกับทั้งคุณแม่และคุณลูก”
ในการดูแลรักษาคนไข้แต่ละราย ย่อมมีความแตกต่างกันในรายละเอียด โดยเฉพาะหากคนคนไข้มีข้อจำกัด ไม่ว่าจะทางร่างกาย เรื่องเวลา การเดินทาง ภาระหน้าที่ต่างๆ รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น คุณหมอก็จะพิจารณาหาทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่คนไข้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตรวจหรือการรักษา คำนึงถึงความปลอดภัย ชั่งน้ำหนักถึงข้อดีข้อเสีย ถ้าคนไข้เลือกทางที่ดีที่สุดไม่ได้ ก็ต้องดูว่าทางที่เลือกที่ทำได้มีผลเสียอะไรไหม ถ้าผลเสียไม่เยอะ คนไข้สามารถหายจากโรคได้เหมือนกัน แต่อาจต้องรอเวลารักษา ก็ต้องให้คนไข้มีสิทธิ์ในการเลือก. . .
“มีหลายครั้งที่คนไข้มีปัญหาบางอย่าง ซึ่งเราก็ต้องบอกกับเขาตรงๆ ว่าเขามีความเสี่ยงอะไรบ้าง ถ้าเราบอกไม่หมด หากปัญหาเกิดขึ้นเขาอาจเข้าใจผิด แต่ถ้าเขารู้ตั้งแต่แรกว่ามันคือความเสี่ยง แต่ไม่ได้หมายถึงว่ามันจะเกิดแน่นอน แต่ขอให้ตรวจ หรือให้เฝ้าระวังและหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงตามที่คาดการณ์ก็ต้องรีบมาหาหมอ แต่บางครั้งการบอกสิ่งที่ยังไม่เกิด คือบอกมากเกินไปก็กลับกลายเป็นความกังวล หมอก็จะบอกในทางทฤษฎีว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน โดยประเมินว่าคนไข้มีความพร้อมในการฟังระดับไหน แต่ไม่ว่าหมอจะทำอะไรก็จะต้องบอกให้เขาเข้าใจเหตุและผล ว่าทำเพราะอะไร เพื่ออะไร เพราะโดยรวมแล้วก็เพื่อความปลอดภัยของตัวคนไข้นั่นเอง”
ถามแพทย์ให้แน่ใจ ก่อนไปอ่านจากอินเทอร์เน็ต
ในยุคสมัยที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย คุณหมอปวีณา แนะนำว่า. . .
“ถ้าเป็นไปได้ อยากให้อ่านข้อมูลทางการแพทย์จากแพทย์หรือผู้รู้ มากกว่าการเข้าไปอ่านความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล เพราะความรู้และประสบการณ์ของแต่ละคนย่อมมีความต่างกัน บางครั้งการเป็นโรคเดียวกัน แต่อาการอาจแสดงออกไม่เหมือนกัน หรืออาการที่เป็น อาจไม่ใช้โรคที่คิดแม้จะดูว่าเหมือนมากก็ตาม เพราะฉะนั้นควรใช้ความระมัดระวังในเสพข้อมูล หรือการคิดวิเคราะห์ตาม หามมีอาการที่น่าสงสัยหรือเกิดความเจ็บป่วยขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ทราบแน่ชัดจะดีกว่า การอ่านหรือการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตนั้น ขอให้เป็นเพียงแนวทางในการเฝ้าระวังโรคจะดีกว่า”
การศึกษา
- 2536 – 2542 ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต , คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- 2550 – 2553 Residencies : วุฒิบัตรสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
ตารางออกตรวจ
อาทิตย์
29 มิ.ย. 2025
นรีเวชกรรม
จันทร์
30 มิ.ย. 2025
นรีเวชกรรม
อังคาร
01 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พุธ
02 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พฤหัสบดี
03 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
ศุกร์
04 ก.ค. 2025
เสาร์
05 ก.ค. 2025
อาทิตย์
06 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
จันทร์
07 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
อังคาร
08 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พุธ
09 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พฤหัสบดี
10 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
ศุกร์
11 ก.ค. 2025
เสาร์
12 ก.ค. 2025
อาทิตย์
13 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
จันทร์
14 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
อังคาร
15 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พุธ
16 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พฤหัสบดี
17 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
ศุกร์
18 ก.ค. 2025
เสาร์
19 ก.ค. 2025
อาทิตย์
20 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
จันทร์
21 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
อังคาร
22 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พุธ
23 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
พฤหัสบดี
24 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
ศุกร์
25 ก.ค. 2025
เสาร์
26 ก.ค. 2025
อาทิตย์
27 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
จันทร์
28 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม
อังคาร
29 ก.ค. 2025
นรีเวชกรรม