
นพ. ไพบูลย์ อัศวเลิศแสง
ข้อมูลทั่วไป
“คำนึงถึงคุณภาพชีวิต ความสุข ความสบายใจ และบุคคลในครอบครัวผู้ป่วยเป็นหลัก ก่อนวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสม”
ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดูแลสุขภาพจากการรับประทานอาหาร ประคับประคองด้วยยา สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว แต่หากมีอาการรุนแรง วิธีการรักษาอาจจบลงที่การผ่าตัด การสวนหัวใจ หรือหัตถการอื่นๆ ตามความเหมาะสม
ประสบการณ์ทำให้เข้าใจวิถีชีวิตผู้ป่วย และรักษาได้อย่างตรงจุด
นายแพทย์ไพบูลย์ อัศวเลิศแสง อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน สั่งสมประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจมาเป็นเวลา 22 ปี ทำให้คุณหมอเข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติเป็นอย่างดี ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งผลการรักษาขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ ตัวผู้ป่วย และแนวทางรักษาที่เหมาะสมของทีมแพทย์
“ผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ประสบการณ์ของแพทย์ และการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาใช้อย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้ต้องดำเนินควบคู่กันไป เพราะผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน แม้จะเป็นโรคเดียวกัน แต่อาจต้องปรับวิธีการ ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยหรือไม่ นั่นหมายถึงแพทย์ต้องสื่อสารกับผู้ป่วยให้เข้าใจ อธิบายเหตุผล และผลที่จะเกิดตามมา”
ขั้นตอนก่อนรักษา…สำคัญไม่แพ้วิธีการ
“ผู้ป่วยบางรายเราถามมากๆ ก็อาจเกิดความรำคาญ” คุณหมอจึงเลือกใช้วิธีการพูดคุยแบบค่อยเป็นค่อยไปกับผู้ป่วยสูงอายุ ไม่เร่งรีบ เพื่อให้เกิดความเชื่อใจและวางใจ ตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์หัวใจ ตรวจเลือด ตรวจปอด เพื่อนำมาวินิจฉัยก่อนวางแผนการรักษาให้ตรงจุด บางครั้งต้องขอความร่วมมือกับญาติผู้ป่วยช่วยสื่อสารหรือบอกอาการ รวมถึงช่วยสังเกตอาการเมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาแล้ว
ความคุ้มค่าของการรักษา…หลักสำคัญที่ต้องใส่ใจ
แม้มาตรฐานการรักษาจะมีแบบแผน หรือแนวทางที่ควรปฏิบัติ แต่ในหลักความจริง สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือ คุณภาพชีวิต ความสุข ความสบายใจของตัวผู้ป่วย และบุคคลในครอบครัว เพราะผู้ป่วยโรคเดียวกัน มีการใช้ชีวิตต่างกัน ภูมิหลังต่างกัน การรักษา ดูแลย่อมต่างกัน คุณหมอจึงปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อให้ผลประโยชน์กับตัวผู้ป่วยมากที่สุด
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 90 ปี อาการของโรคค่อนข้างรุนแรง รูปแบบการรักษาสามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยได้ แต่ผู้ป่วยต้องรับภาระความเจ็บปวดจากการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และอาจมีโรคแทรกซ้อนตามมา ลักษณะเช่นนี้ หากดึงดันผ่าตัดรักษาอาจยืดอายุผู้ป่วยได้จริง แต่นั่นไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะในความเป็นจริงอาจจะไม่คุ้มค่า และไม่ได้สร้างความสุขที่แท้จริงให้กับผู้ป่วย คุณหมอจึงเลือกประเมินการรักษาแบบสมเหตุสมผล รวมถึงการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อได้รับข้อมูลในแต่ละด้าน แต่ละมุม ก็จะเลือกที่วิธีประคับประคองด้วยยา ดูแลเรื่องอาหาร การใช้ชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ สบายๆ ไม่ต้องเจ็บตัวกับการใส่เครื่องช่วย หรือเสี่ยงกับโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัดรักษา
การที่ได้เห็นผู้ป่วยมีความสุข ได้ใช้ชีวิตแบบสบายๆ เราก็พอใจแล้ว เพราะได้ให้การรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ต้องใช้นวัตกรรมอะไรมาก แต่เหมาะกับความเป็นอยู่ที่จะดำเนินชีวิตไปตามวัย
การศึกษา
- 2523 – 2529 แพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2532 – 2535 สาขาอายุรศาสตร์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (แพทยสภา)
- 2535 – 2538 อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (แพทยสภา)
ตารางออกตรวจ
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด