
การผ่าตัดขากรรไกร หรือ oral maxillofacial surgery นั้นโดยมากมักเป็นการผ่าตัดรักษาประเภทไม่เร่งด่วน สามารถนัดผ่าตัดได้ และในช่วงโรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID 19 ย่อมส่งผลกระทบต่อการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในบทความนี้ผมจะเล่าถึงวิธีการเตรียมตัวผ่าตัดของผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรในยุค COVID 19 นี้กันครับ โดยผมขออ้างอิงข้อมูลจาก “แนวปฏิบัติการทำหัตถการและการผ่าตัดในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ของประกาศกรมการแพทย์เมื่อ 7 พค. 2563 ที่ผ่านมานี้ครับ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัดประเภท Elective case
ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขณะที่มีความจำกัดของทรัพยากรทางการแพทย์และความปลอดภัยจากการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ จึงแนะนำให้มีการปรับสัดส่วนการให้บริการผ่าตัดโดยพิจารณาจาก
- ลำดับความเร่งด่วนของโรค ภาวะไม่เร่งด่วนที่สามารถนัดทำผ่าตัด (Elective case)
- สภาวะของผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด
- การใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล
เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ในการเลือกผ่าตัดประเภท Elective case ทีมรักษาพยาบาล ทุกคนต้องให้ความสำคัญและร่วมการคัดกรองผู้ป่วยทุกรายในด้านความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นหนึ่งในการประเมินทางการแพทย์ก่อนการผ่าตัด ดังต่อไปนี้
- การคัดกรองโดยการซักประวัติ (social risk factor, physical/medical risk factor) ตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร่วมกับการตรวจประเมินอาการ อาการแสดง ก่อนนัดผ่าตัด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจากพื้นที่หรืออยู่อาศัยในพื้นที่เกิดโรคระบาดต่อเนื่องของ COVID-19
- มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็น COVID-19
- สัมผัสกับผู้ป่วย COVID-19 หรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย โดยไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เหมาะสม
- เป็นผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมาก
- มีประวัติไปในสถานที่ที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ขนส่งสาธารณะ
- เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีโอกาสใกล้ชิด / สัมผัสผู้ป่วย COVID-19
- ไอ
- เจ็บคอ
- ไข้ อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 C
- น้ำมูกไหล
- การสูญเสียการได้กลิ่น
- ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- หายใจเหนื่อย / หายใจเร็ว
- ในการประเมินทางการแพทย์ในรายนัดมาผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ผ่าตัดโดยให้การระงับความรู้สึกแบบGeneral Anesthesia หรือ Potential General Anesthesia ควรมีระบบการส่งประเมินและปรึกษาวิสัญญีแพทย์ หรืออายุรแพทย์ (ทั้งนี้ตามนโยบายของคณะกรรมการแต่ละโรงพยาบาล) โดยจัดให้จำนวนครั้งการมาโรงพยาบาลและใช้ระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด
- แนะนำให้ตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา โดยทำ nasopharyngeal และ throat swab และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี real time reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) หรือ Nucleic Acid Amplification Test (NAAT)
- หากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาเป็นลบ ให้ดำเนินการผ่าตัดโดยเร็วไม่เกิน 7 วันหลังการตรวจ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อในระหว่างนี้ ระหว่างรอการผ่าตัดให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยโดยเน้นให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ได้แก่ การรักษาระยะห่าง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการเป็นไข้หวัด หลีกเลี่ยงการออกไปในที่ชุมชน งดพบปะกับญาติหรือบุคคลอื่น โดยเฉพาะคนที่มาจากต่างถิ่น
- ในวันที่มาผ่าตัด แพทย์และทีมรักษาพยาบาลควรคัดกรองซ้ำอีกครั้ง โดยการตรวจร่างกาย ซักประวัติเสี่ยง และอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยปลอดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก่อนทำการผ่าตัด ทั้งนี้ไม่ต้องทำการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง
การซักประวัติ
อาการ และอาการแสดง (symptoms & sign)
หากผู้ป่วยอยู่ในข่ายสงสัย/เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ควรเลื่อนทำการผ่าตัด elective ไปก่อน รอดูอาการที่บ้านจนครบอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อพิจารณาเตรียมการผ่าตัดใหม่หรือส่งตรวจที่คลินิก เพื่อตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
หากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาเป็นบวก และวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น Asymptomatic COVID patient ให้รักษาโรคตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและเลื่อนการผ่าตัด elective ไปก่อนจนหายอย่างน้อย 1 เดือน นับจากวันที่ตรวจ เพื่อพิจารณาเตรียมการผ่าตัดใหม่โดยไม่จำเป็นต้องมีการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสซ้ำ
นี่คือข้อแนะนำการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยและทีมแพทย์ พยาบาล ของโรงพยาบาลในการเตรียมผู้ป่วยในการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรในยุค NEW NORMAL และในบทความหน้าผมจะเล่าถึงการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างครับ

ทพ.เวทัส ศักดิ์เดชยนต์
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 2 อาคาร A
เวลาทำการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 20.00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 17.00 น.
เบอร์ติดต่อ 02-617-2444 ต่อ 4221, 4222, 4223
นัดหมายแพทย์