นพ. นันทวัฒน์ อุตตโม

นพ. นันทวัฒน์ อุตตโม

นพ. นันทวัฒน์ อุตตโม


ความชำนาญ
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

“เวลารักษาใครถ้าเรามองเขาเป็นญาติ พี่น้อง เป็นคนรู้จัก
หรือคนในครอบครัวของเรา สิ่งที่ดีที่สุดมักจะตามมาเอง”

ในทุกการรักษา. . . คือการคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไข้

นพ. นันทวัฒน์ อุตตโม แพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคกระดูกสันหลัง จากประสบการณ์การทำงานและการฝึกอบรมที่ต่างประเทศ คุณหมอนันทวัฒน์บอกว่า โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังจะนับรวมตั้งแต่กระดูกคอลงมาจนถึงก้นกบ พบได้บ่อยทั้งในคนไทยและต่างชาติ และเป็นโรคที่มีลักษณะเฉพาะที่การรักษาไม่ได้มีแต่โรคกระดูกอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีเรื่องเส้นประสาทเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยด้วย ความยากและซับซ้อนของการรักษาโรคกระดูกสันหลังจึงเป็นงานที่ท้าทายและน่าสนใจสำหรับคุณหมอ

 

 

“ผมเห็นว่าคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคกระดูกสันหลังส่วนใหญ่มักจะทุกข์ทรมานมาก โดยเฉพาะโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ ถ้าเราสามารถผ่าตัดช่วยเหลือคนไข้กลุ่มนี้ได้ก็ทำให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ดีขึ้น โดยเฉพาะคนไข้สูงอายุที่สามารถกลับไปใช้ชีวิตกับลูกหลานได้ดีขึ้น”

โรคกระดูกสันหลัง. . . ปัญหาที่เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

คุณหมอนันทวัฒน์ เล่าว่า โดยปกติแล้วแพทย์โรคกระดูกสันจะต้องตรวจและรักษาได้ทุกอาการ แต่กระดูกสันหลังเป็นอวัยวะที่ซับซ้อน เป็นอวัยวะหลักที่เป็นแกนของร่างกาย ดังนั้นอาการที่คนไข้มารักษาจึงมีหลายสาเหตุ

 

 

“โรคกระดูกสันหลังแต่ละแบบก็มีการรักษาที่ต่างกัน ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา ในกลุ่มคนที่อายุไม่มากส่วนใหญ่จะเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเคลื่อน หมอนรองกระดูกปลิ้น เมื่อก่อนไม่ได้เจอเยอะขนาดนี้ แต่ในยุคนี้คนทำงานมีพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมากขึ้น การนั่งทำงานหน้าคอมนานๆ ก็ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น และมีโอกาสที่จะเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทได้มากขึ้นด้วย  ส่วนในคนที่อายุมากกระดูกสันหลังมีการเสื่อมไปตามวัย ทำให้ไขสันหลังมีการบีบแคบลง เมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อมแล้วก็ไปกดทับเส้นประสาททำให้มีอาการปวดและอาการชาตามมาด้วย”

MRI ในท่ายืนช่วยให้รักษาอย่างตรงจุด

ในสมัยก่อนการตรวจคนไข้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังจะมีการตรวจร่ายกายภายนอก ตรวจดูกล้ามเนื้อ ตรวจเส้นประสาท ตรวจอาการชาและอาการปวดว่าเป็นตามแนวเส้นประสาทที่มีอาการหรือเปล่า และจะมีการฉีดสีเข้าไปในตัวไขสันหลัง เพื่อดูว่าไขสันหลังหรือว่าถุงน้ำในไขสันหลังไปโผล่ที่ตำแหน่งไหน แต่ปัจจุบันเครื่อง MRI หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้คนไข้ไม่มีความเสี่ยงในการฉีดสี ทำให้มองเห็นรายละเอียดของเส้นประสาทและลักษณะของกระดูกสันหลังได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

“ในปัจจุบัน MRI ก็มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยปกติเราจะทำ MRI กันในท่านอน แต่จากประสบการณ์ของแพทย์หลายท่านพบว่าเวลามีอาการปวดมักจะปวดท่ายืนหรือท่านั่ง ปัจจุบันโรงพยาบาลพญาไท 2 จึงใช้ MRI ท่ายืนเพื่อช่วยในการค้นหาตำแหน่งของการปวดให้แม่นยำที่สุด”

เพราะเราทำงานกันแบบทีมเวิร์ค ผลการรักษาที่ได้. . . จึงเวิร์ค!

คุณหมอนันทวัฒน์ เล่าว่า การรักษาที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นจากการวางแผน เพราะโรงพยาบาลพญาไท 2 มีทีมแพทย์กระดูกสันหลังที่ทำงานร่วมกันในทีม ทำให้แพทย์แต่ละท่านได้ช่วยกัน Double Check อาการ วางแผนการรักษาร่วมกัน เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดให้กับคนไข้

 

 

“ผมว่าหมอทุกคนคงมีแนวคิดคล้ายๆ กัน คือเวลารักษาใครถ้าเรามองเขาเป็นญาติพี่น้องเป็นคนรู้จักหรือคนในครอบครัวของเราสิ่งที่ดีที่สุดมักจะตามมาเอง ถ้าเราดูแลคนไข้เราเหมือนเขาเป็นญาติผมว่าคนไข้เขาสัมผัสได้ว่าเรามองหรือคิดกับเขายังไง ถ้าเราหวังดีกับคนไข้เราก็ทำสิ่งที่ดีที่สุดให้เขา ให้ทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุด สุดท้ายแล้วการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคนไข้เอง ส่วนเรามีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุดให้เท่านั้นเอง”


  • 2547 – 2553 แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 2553 – 2554 Internships, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 2554 – 2558 วุฒิบัตร ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedic Surgery), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 2558 – 2559 Spine fellowship, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ตารางออกตรวจ

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(10:00 - 12:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(13:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(10:00 - 12:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(13:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(10:00 - 12:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(13:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(10:00 - 12:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(13:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(14:00 - 17:00)

สถาบันกระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)
Loading...
Loading...