“ปอดอักเสบ” โรคอันตรายของผู้สูงอายุ ที่ลูกหลานต้องเฝ้าระวัง

“ปอดอักเสบ” โรคอันตรายของผู้สูงอายุ ที่ลูกหลานต้องเฝ้าระวัง

ใครที่เคยคิดว่า “โรคปอดอักเสบ” ดูไกลตัว อาจจะต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่ เพราะปอดอักเสบเป็นโรคติดต่อที่พบได้มากในกลุ่มผู้สูงวัย และยังพบได้ตลอดทั้งปี ยิ่งถ้าเจอกับช่วงที่อากาศแปรปรวนด้วยแล้ว ลูกหลานอย่างเราคงนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะความรุนแรงของโรคนี้ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

ปอดอักเสบ…มีสาเหตุมาจากอะไร?

ความจริงแล้วโรคปอดอักเสบนี้อาจเกิดได้จากทั้งการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เพียงแต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบว่ามาจากการติดเชื้อมากกว่า ซึ่งตัวเชื้อนั้นก็มีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะรับเชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบทางเดินหายใจ นั่นคือเราสามารถหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปเมื่อไหร่ก็ได้ และยิ่งถ้าร่างกายกำลังอ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ความรุนแรงของโรคจะมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสภาพความแข็งแรงของผู้ป่วยว่ามีมากน้อยเพียงใดนั่นเอง

อาการแบบไหน…ที่บอกว่า “ผู้สูงวัย” กำลังโดน “โรคปอดอักเสบ” เล่นงาน

ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคปอดอักเสบนี้จะแสดงออกภายใน 1-2 วัน เริ่มจากมีไข้ หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเขียว สีเหลือง หรือไอมีเลือดปน บางคนมีอาการเหนื่อยหอบและหายใจลำบากร่วมด้วย เวลาไอหรือแม้แต่หายใจเข้า-ออก ลึกๆ ก็จะรู้สึกเจ็บหน้าอก และอาการต่างๆ ก็จะแย่ลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกเคสจะมีอาการอย่างชัดเจน เพราะในบางคนอาจใช้เวลานานถึง 1-2 อาทิตย์กว่าที่จะมีอาการ โดยอาจมีเพียงแค่ไข้ต่ำๆ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดตามข้อ เห็นผู้สูงวัยมีอาการผิดปกติเหล่านี้เมื่อไหร่ ทางที่ดีควรรีบพาไปพบแพทย์จะดีที่สุด

ป้องกัน “ความทรมาน” ด้วยการ “ฉีดวัคซีน”

ถึงแม้โรคปอดอักเสบนี้จะดูรุนแรง แต่ในปัจจุบันก็มี “วัคซีนป้องกัน” เชื้อก่อโรคได้ โดยเฉพาะในวัยผู้สูงวัย ที่อยู่ในช่วงวัยที่ภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงต่างๆ ลดลง เพราะอย่างที่บอกว่ายิ่งภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ ก็ยิ่งมีโอกาสในการติดเชื้อมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันความทรมานที่อาจเกิดจากการติดเชื้อจนกลายเป็นโรคปอดอักเสบนี้ ลูกหลานอย่างเราควรพาผู้สูงวัยในบ้านไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบไว้จะดีกว่า เพราะนอกจากปัจจัยในเรื่องของอายุแล้ว คนที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติจากยา เช่น สเตียรอยด์ ยากดภูมิ ยาต้านมะเร็งบางชนิด หรือการได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก ก็ต้องระวังให้มาก พอๆ กันกับผู้ที่มีปัญหาเรื้อรังอย่างโรคปอด โรคหัวใจ เบาหวาน หรือมีสภาวะที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง ซึ่งนับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบได้เช่นกัน

 

นอกจากพาไปฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงวัยให้แข็งแรง ด้วยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเมื่อรู้สึกเป็นไข้ หรือมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นโรคร้ายแรง


แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

เคลียร์ข้อสงสัย ทานเป็ด-ไก่ ทำให้เป็นเกาต์จริงหรือไม่

พญาไท 2

การสะสมของกรดยูริก (uric acid) ในเลือด และตกตะกอนเป็นผลึกรูปเข็มอยู่ตามข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อนอย่างเฉียบพลัน ระดับของกรดยูริคในเลือดสูง..ยังบ่งบอกถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเกาต์ได้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ กับทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า

พญาไท 2

จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี พบว่า การที่ผู้สูงวัยได้รับ ‘วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ’ โดยเฉพาะ จะมีแนวโน้มลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่าการได้รับ ‘วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบมาตรฐาน’ ทั่วไป

ก้าวเข้าสู่ความพร้อม...คู่รอยยิ้ม เพื่อช่วงวัย Senior Society

พญาไท 2

เรามาเตรียมร่างกาย และจิตใจให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่วัย Senior Society กันดีกว่า...เพราะถึงคุณจะไม่ใช่วัย Senior แต่การเตรียมตัวให้พร้อม จะช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่ Senior Society ได้อย่างมีคุณภาพ

​​วัคซีนไข้เลือดออก:เกราะป้องกันสำคัญที่ทุกคนในครอบครัวควรรู้

พญาไท 2

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมียุงลาย เป็นพาหะนำโรค โดยโรคนี้จัดว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เพราะไม่มียารักษาเฉพาะ การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงช่วยลดความรุนแรงของโรคหากเกิดการติดเชื้อซ้ำ