คลินิกชะลอสายตาสั้นในเด็ก icon

คลินิกชะลอสายตาสั้นในเด็ก

 

ยุค 4.0 หรือในปัจจุบันนี้ มีทั้งความสะดวกสบายด้านการสื่อสาร การเรียนการสอน รวมทั้งการทำงานที่ง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย และแม้ข้อดีจะมีมาก แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อเสียที่เห็นได้ชัดในด้านสุขภาพตาหรือผลกระทบต่อสายตาที่เกิดจากเทคโนโลยี มักเกิดจากการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ที่แสงจากหน้าจอ รวมถึงการที่ต้องเพ่งสายตามองตัวอักษรและการเคลื่อนไหวของภาพ ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีสายตาสั้นก่อนวัยอันควร

 

ข้อมูลจาก สถาบันราชานุกูล กล่าวถึง ภาวะสายตาสั้นในเด็กกับปัญหาต่อสมอง ไว้ว่า การมองเห็นที่ดีส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรเพิกเฉยต่อการดูแลสายตาของลูกน้อยตั้งแต่ยังเป็นทารก เพราะหากไม่สนใจอาจเกิดโรคร้ายทางตาตามมาได้จากการแค่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ ในตอนแรก อย่างการมีสายตาสั้นในระยะแรกก็อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นตาบอดในอนาคตได้

 

ภาวะสายตาสั้นนับเป็นปัญหาระดับโลก และถือเป็นวิกฤตของประชากรทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะมีภาวะสายตาสั้น ดังนั้นภาวะสายตาสั้นจึงถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ส่งผลกระทบในทุกประเทศและทุกทวีป และสิ่งที่น่าตกใจคือ มีการคาดการณ์ว่า คนที่มีภาวะสายตาสั้นมาก คือ ค่าสายตาเกิน 500 จะมีสูงถึง 1,000 ล้านคนในอีก 20 กว่าปีข้างหน้าอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งมีประเด็นศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น โดยพบว่า หากเด็กที่มีสายตาสั้นเร็วตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เมื่อโตขึ้นจะสายตาสั้นมากกว่า 500 ขึ้นไป โดยมีโอกาสสายตาสั้นจนถึง 1,000 เลยทีเดียว และในผู้ที่สายตาสั้นมากๆ จะมีอัตราการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคต้อหิน จอประสาทตาฉีกขาด ต้อกระจก ตามมาอีกด้วย

 

ความปกติของสายตาในเด็ก

ในเด็กเล็กค่าสายตาปกติจะเป็นสายตายาว เนื่องจากเด็กมีขนาดลูกตาเล็ก และกำลังโฟกัสของกระจกตาและเลนส์น้อยกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงมีผลให้ภาพที่เกิดขึ้นตกหลังลูกตา หรือสายตายาวนั่นเอง ซึ่งสายตายาวอาจเพิ่มขึ้นได้จนอายุประมาณ 8 ปี หลังจากนั้นสายตายาวก็จะลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ

 

เพราะสุขภาพดวงตาของลูกรักเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นๆ และในการตรวจดวงตา…อาจทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ถ้าจะพาลูกเข้ารับการตรวจดวงตา จักษุแพทย์จะตรวจประเมินอะไรบ้าง และต้องเตรียมความพร้อมของเด็กอย่างไรก่อนเข้ารับการตรวจ

 

การตรวจประเมินสายตา สามารถตรวจอะไรได้บ้าง?

  • การมองเห็น หรือพฤติกรรมการมองเห็น (visual behavior)
  • ประเมินระดับการมองเห็น (visual acuity)
  • การประเมินภาวะสายตาขี้เกียจ (amblyopia or lazy eye)
  • ประเมิน Binocularity หรือการมองเห็นที่ใช้สองตาร่วมกัน และการมองเห็นสามมิติ (stereopsis)
  • การมองเห็นสี (color vision)
  • ตรวจประเมินการเคลื่อนไหวของลูกตา (extra ocular movement)
  • ตรวจค้นหาภาวะตาเข ตาเหล่ (strabismus)
  • ตรวจส่วนด้านหน้าของลูกตา ทั้งกระจกตา ช่องด้านหน้าลูกตา เลนส์ตา โดย slit lamp biomicroscope
  • ตรวจประเมินค่าระดับสายตา (refractive status and accommodative status)
  • ตรวจวัดความดันลูกตา (intra ocular pressure)
  • ตรวจประเมินลานสายตา (visual field)
  • ถ่ายภาพจอประสาทตา (retinal photograph)

 

ความผิดปกติของสายตาในเด็ก

  • สายตายาว
  • สายตาสั้น และสายตาสั้นเทียม
  • สายตาเอียง

 

การป้องกันหรือการชะลอสายตาสั้นในเด็ก

  • คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกมีพฤติกรรมติดจอ ควรกำหนดระยะเวลาการดูการใช้อย่างเหมาะสม
  • เปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ลดกิจกรรมที่ใช้สายตาระยะใกล้มากเกินไป และเพิ่มกิจกรรมกลางแจ้งให้มากขึ้น
  • ควรให้เด็กเล่นกีฬา หรือมีกิจกรรมกลางแจ้งอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อวัน
  • หากเริ่มมีภาวะสายตาสั้น ควรเลือกใช้เลนส์ที่เหมาะสมกับค่าสายตาของตนเองตามที่จักษุแพทย์ให้คำแนะนำ

 

การชะลอภาวะสายตาสั้น ไม่ได้เป็นการป้องกันสายตาสั้น แต่เป็นการป้องกันไม่ให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี จึงแนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา ตรวจสุขภาพตา เพื่อเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน

 

แพทย์เฉพาะทาง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Loading...


Loading...
Loading...
Loading...