ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพญาไท 1
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ-อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้ดำเนินการให้บริการดูแลสุขภาพพนักงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ของผู้ประกอบอาชีพทุกภาคส่วน ทั้งบริษัท Cooperates โรงงานอุตสาหกรรม องค์กรธุรกิจ ดำเนินการโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวเวชศาสตร์ และทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีและและชีวิตมีความสุข ( Healthy and wellness ) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานและครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
Accredit : โรงพยาบาลได้ทำการตรวจประเมินมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับสถานพยาบาล โดยผลการตรวจประเมิน โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับสถานพยาบาลนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน ระดับดีเด่น (ระดับสูงสุด) จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
และก้าวต่อไปสู่มาตราฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ บริษัท และพนักงานผู้รับบริการทุกท่าน มั่นใจว่าการจัดบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลพญาไท 1 ที่ได้ดำเนินการและให้คำแนะนำปรึกษาเป็นตามแนวทางมาตราฐาน ถูกต้อง และครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเครื่องมือทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ได้รับการรับรองมาตรฐานและถูกต้องตามหลักวิชาการ
นอกจากนั้นยังมีทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และบุคลากรด้านกายภาพบำบัดที่ผ่านการอบรมและได้เป็น Matheson’s Certified Functional Capacity Evaluator และMatheson’s Certified Ergonomic Evaluation Specialist จากสหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่มแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถประเมินผู้ป่วยที่ส่งมาจากลูกค้าองค์กร และพิจารณาให้กลับไปทำงานอย่างเหมาะสมภายหลังจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใดๆ รวมถึงปัญหาทางด้านการยศาสตร์ ( ergonomic ) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
Assessments : มีการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงาน และออกแบบ วางแผนการเฝ้าระวังสุขภาพ รวมถึงกำหนดรายการตรวจสุขภาพอย่างเหมาะสม นอกจากกนี้ยังใช้โปรแกรมประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพเฉพาะบุคคล โดยพิจารณาปัจจัยโรคเรื้อรัง ความเสี่ยงจากการประกอบการงาน รวมทั้งพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพ
เครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือโรงพยาบาลเปาโล ได้เป็นผู้นำร่องในการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรในการดูแลพนักงานให้มีสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากการทำงานและการใช้ชีวิตในการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ด้วยการนำเสนอวิธีการดูแลสุขภาพที่เรียกว่า Let’s Get Healthy (LGH) Thailand Application ซึ่ง BDMS พัฒนาร่วมกับ OHSU ให้กับลูกค้าองค์กร และพนักงานให้ตระหนักรู้ความเสี่ยงทั้งสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางใจของตนเอง และทำให้องค์กรเห็นภาพรวมสุขภาวะพนักงาน จากการรายงานการบริหารสุขภาวะพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน Health Productivity Management (HPM) Report ซึ่งผลที่ได้จะนำไปสู่การออกแบบการดูแลสุขภาพพนักงานอย่างเหมาะสม ช่วยบริหารค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพพนักงาน และเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานให้กับองค์กร รวมถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมการมีสุขภาพที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
Analysis : วิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพทั่วไป สุขภาพจากการทำงาน โดยวิเคราะห์เป็นรายบุคคล และวิเคราะห์ทางเวชสถิติสำหรับองค์กร เพื่อมองหาปัญหา และร่วมหาแนวทางส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบรายบุคคล และรูปแบบขององค์กร เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต ฟื้นฟูสุขภาพจากภาวะโรคเรื้อรังให้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของพนักงานและขององค์กร เพิ่มผลผลิตของพนักงานและองค์กร
Adaptation : สร้างรูปแบบการปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกกรม เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ในกลุ่มความเสี่ยง
เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล ได้ดำเนินก่อตั้งทีมงาน Health up เพื่อจุดประสงค์ส่งเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กร ให้ตระหนักและปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตที่มีผลดีต่อสุขภาพพนักงานในกลุ่มเสี่ยง โดยเป็นทีมสหวิชาชีพ ทั้งทีมแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ พยาบาลอาชีวเวชศาสตร์ ยังมีทีมงานฝ่ายบุคคล กายภาพบำบัด แพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ฝ่ายการตลาด และมีการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาสุขภาพให้หลากหลาย ให้เฉพาะเจาะจงตามปัญหาสุขภาพเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้ได้ผลประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น โปรแกรมเฉพาะโรค โปรแกรมเฉพาะบุคคล โปรแกรมเฉพาะตามอาชีพการงาน
Acknowledges : มีการทำศึกษาวิจัยทางวิชาการ เพื่อใช้ดำเนินงานทางอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อสร้างความมั่นใจในองค์กร Cooperates โดยมีงานวิจัยทางวิชาการอ้างอิง
- ร่วมกับ BDMS และ OHSU แปลแบบสำรวจพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ( Impulsivity ) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยแปลจากต้นฉบับ Barratt Impulsiveness Scale (BIS 11) เป็นฉบับภาษาไทย โดยขอลิขสิทธิ์จากต้นฉบับ โดยแปลบนพื้นฐานงานวิจัย เป็นแบบสำรวจที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการชี้วัดได้จริง ได้รับการแปลเพื่อนำมาใช้กับผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยชาวไทย และตีพิมพ์เผยแพร่โดย BDMS และ OHSU ในวารสารการวิจัยทางจิตวิทยา (จูนจา และคณะ, 2562) ( Psychiatry Research ( Juneja et al., 2019))
- ร่วมกับ BDMS และ OHSU ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง Let’s Get Healthy Thailand Diet Survey Validation เป็นการศึกษาความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับคนไทยต่อความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโปรแกรม Let’s Get Healthy
Applications : มีการสร้าง Application ต่าง ๆ สำหรับพนักงานองค์กร เพื่อให้ทราบ และเข้าใจสุขภาพของตนเอง รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ แนวทางและเครื่องมือการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อสุขภาพที่ดี
- Let’s Get Healthy (LGH) Thailand Application ใช้ในการประเมินพฤติกรรมของตนองว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ
- Health up Application ใช้สำหรับดูผลตรวจสุขภาพ และคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ อาชีวเวชศาสตร์ ให้บริการ ดังต่อไปนี้
การจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุก ดำเนินการด้านอาชีวอนามัยในสถานประกอบการอย่างครอบคลุมโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง
- Health Risk Assessment by In-Depth Walk through Survey การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพโดยการสำรวจสถานประกอบการเชิงลึก เพื่อตรวจประเมินลักษณะและสภาพแวดล้อมการทำงาน ในการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านสุขภาพเฉพาะ เนื่องจากแต่ละสถานประกอบการมีสิ่งคุกคามต่อสุขภาพแตกต่างกัน รวมถึงออกแบบโปรแกรมการการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับการทำงาน และถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเกิดประโยชน์ต่อพนักงาน และองค์กรมากที่สุด
- Out clinic and primary doctor company การจัดบริการห้องพยาบาลประจำสถานประกอบการ เพื่อให้บริการด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอนามัยของพนักงานในสถานประกอบการ โดยมีทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขาวิชาชีพเข้ามาช่วยดูแลสุขภาพพนักงานด้วย เช่น อายุรแพทย์ แพทย์โสต ศอ นาสิก และแพทย์กายภาพบำบัด เป็นต้น รวมถึงมีระบบบริการแพทย์ทางไกล Telemedicine เพื่อให้เข้าถึงการตรวจรักษาจากแพทย์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยดำเนินการภายใต้แพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดงอาชีวเวชศาสตร์
- Doctor company consultant ทีมแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์เป็นที่ปรึกษาประจำสถานประกอบการหรือองค์กร เพื่อให้คำแนะนำ และสนับสนุนให้สถานประกอบการดำเนินการด้านอาชีวอนามัยได้ตามมาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปรึกษา และตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงาน
- Health up จัดบริการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ และโดยวางแผนและออกแบบโปรแกรมให้สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพของพนักงานในองค์กร
- ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงการประเมินความพร้อมในการทำงาน (Fitness to Work) ตรวจประเมินความพร้อมกรณีเปลี่ยนงาน (Change Position) หรือตรวจประเมินความพร้อมในการทำงานพิเศษ (Fitness to Work for Special Job) ดังต่อไปนี้
- ประเมินความพร้อมสำหรับงานการทำงานในที่อับอากาศ (Confined Space)
- ประเมินความพร้อมสำหรับการทำงานที่สูง (Work at Height)
- ประเมินความพร้อมสำหรับการทำงานขับรถโฟค์ลิฟท์ (Forklift)
- ประเมินความพร้อมสำหรับการทำงานขับปั้นจั่น (Cranes Operation)
- ประเมินความพร้อมสำหรับการทำงานขับรถ (Fitness to Drive)
- ประเมินความพร้อมสำหรับการทำงานผจญเพลิง (Fire Fighter)
- ประเมินความพร้อมสำหรับการทำงานคนเดินเรือ (Seafarer)
- การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงประจำปี (Periodic Examination) เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจตามปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับจากการทำงาน (Health and Medical Surveillance)
- การตรวจสุขภาพประเมินความพร้อมก่อนกลับเข้าทำงานหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย (Return to Work Assessment)
- การตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน (Retirement Examination) ตรวจสุขภาพประเมินทราบสภาวะสุขภาพของลูกจ้างที่กำลังจะออกจากงาน
ซึ่งตามที่กฎกระทรวงได้ระบุผู้ที่สามารถตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงไว้ คือ แพทย์ผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์หรือผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง เพื่อให้สามารถประเมินความพร้อมของสภาวะสุขภาพลูกจ้างในการทำงานได้
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพญาไท 1
ประกอบไปด้วยทีมแพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ ซึ่งมีความชำนาญในเรื่องประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดจากงาน และวางแผนการตรวจสุขภาพอย่างเหมาะสม เราจึงพร้อมให้บริการด้านอาชีวอนามัยครบวงจร ตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน