นพ. พฤฒพงศ์ แสงจำรัส
นพ. พฤฒพงศ์ แสงจำรัส
ความชำนาญ
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
สาขา
ข้อมูลทั่วไป
หัวใจสำคัญในการผ่าตัดรักษาข้อเข่าและข้อสะโพก คือคุณภาพการรักษา คนไข้ต้องกลับมาเดินและใช้ชีวิตได้ตามที่ควรจะเป็น ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และเจ็บปวดน้อยที่สุดทั้งขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด
ในขณะศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) นั้นคุณแม่ของ นพ. พฤฒพงศ์ แสงจำรัส มีอาการปวดหลังอย่างมาก เมื่อได้ไปพบแพทย์ก็ตรวจพบว่าคุณแม่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจนต้องทำการผ่าตัด ซึ่งก็ได้ความกรุณาจากอาจารย์แพทย์ที่สอนคุณหมออยู่เป็นผู้ทำการผ่าตัดให้ โดยผลการผ่าตัดสำเร็จได้ด้วยดี อาการปวดหลังของคุณแม่หายสนิท จนเรียกได้ว่าไม่เคยปวดหลังอีกเลย และใช้ชีวิตได้ตามปกติจนถึงปัจจุบัน นั่นคือความประทับใจที่ทำให้คุณหมออยากเป็น แพทย์ผู้ชำนาญการกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
ได้เห็น ได้ทำ ได้จดจำ. . . นำมาพัฒนาการรักษา
และด้วยการเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ยังตรงกับบุคลิกและธรรมชาติของคุณหมอที่มีความชอบในด้านวิศวกรรมมาอยู่ก่อน คือชอบในเรื่องของโครงสร้าง กลไก ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ และหากเปรียบเทียบว่ากระดูกเป็นโครงสร้างของร่างกายในทางการแพทย์ก็คงไม่ผิดนัก ในขณะเรียนแพทย์ในชั้นปีที่ 5 และ 6 การได้ฝึกหรือปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชุมชนจึงมักเลือกที่จะดูแลผู้ป่วยแผนกกล้ามเนื้อ กระดูกและข้ออยู่เสมอ ทำให้ได้เห็นการทำงานของอาจารย์แพทย์มากขึ้น ได้เห็นคนไข้ เห็นลักษณะของโรคและวิธีรักษาแบบต่างๆ ก็รู้สึกได้ว่าตรงกับสิ่งที่ตั้งปณิธานไว้
ศึกษาอนุสาขาข้อเข่าข้อสะโพก เพื่อความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้ง
หลังจากเป็นแพทย์ใช้ทุนเสร็จสิ้นแล้ว จึงเข้าศึกษาต่อที่ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ในขณะนั้นก็มีความสนใจในการผ่าตัดรักษาข้อเข่าและข้อสะโพกเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสภาวะที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก เมื่อมีโอกาสจึงได้ศึกษาต่ออนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพก ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า การได้ศึกษา ฝึกฝน และสัมผัสใกล้ชิดกับอาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์ มีความสามารถ และมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการทำงานและการผ่าตัด รวมถึงเทคนิคต่างๆ อย่างแจ่มชัด
คุณหมอบอกว่า “การเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยเฉพาะการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าข้อสะโพก ประเด็นสำคัญของการรักษาคือให้คนไข้กลับมาเดินได้ดีและหายเจ็บปวด แพทย์จึงต้องมีความรู้ความชำนาญ และยังต้องมีความประณีตในการผ่าตัด มีความตั้งใจในการดูแลคนไข้และความแน่วแน่ในสิ่งที่ทำโดยไม่หยุดแค่ความรู้ปัจจุบัน การอ่านหรือการทำงานวิจัยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ทำให้รู้ว่าการรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีทางเลือกอื่นๆ ที่ดีกว่าหรือไม่ การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติทั้งในเอเชียและยุโรป ก็เพื่อนำวิทยาการใหม่ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม ทั้งความรู้และประสบการณ์ก็จะหล่อหลอมให้เกิดเป็นความเชี่ยวชาญในการรักษา”
วิธีรักษาที่ดีสู่ผลการรักษาที่ดี
เช่น การผ่าตัดในปัจจุบัน จะไม่ใส่ท่อระบายเลือดดังสมัยก่อน เนื่องจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านงานวิจัยแล้วว่าไม่มีผลต่อการห้ามเลือด และรบกวนการฟื้นตัวของคนไข้ การควบคุมอาการปวดโดยใช้การบล็อคเส้นประสาทในจุดที่ไม่ส่งผลต่อการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ทำให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดไวขึ้น การตรวจสารชีวภาพ ชื่อ Urine CTX-II หรือการตรวจ Ultrasound เพื่อตรวจสภาวะข้อเสื่อมก่อนมีอาการหรือก่อนเกิดความผิดปกติทาง X-ray การใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ อย่างการฉีด ACP หรือการใช้ Nanoneedle เพื่อลดการอักเสบข้อเข่า ชะลอการเสื่อม และกระตุ้นฟื้นฟูสภาพข้อเข่าโดยไม่ต้องผ่าตัด
การศึกษา
- 2543 – 2549 แพทยศาสตร์บัณฑิต , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2552 – 2556 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขา ออร์โธปิดิกส์, จาก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
- 2560 – 2561 อนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพก , วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า
ตารางออกตรวจ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ