
นพ. ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
นพ. ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
ความชำนาญ
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
สาขา
ข้อมูลทั่วไป
แรงบันดาลใจในการเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านการเจริญพันธุ์ ในระหว่างการศึกษาด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2546) นพ. ธีรยุทธ์ เล็งเห็นถึงปัญหาของคู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยพบว่าคู่สมรสส่วนใหญ่ที่แต่งงานเมื่อล่วงเลยวัยหนุ่มสาวไปมากแล้วมักมีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ แต่ยังต้องการมีบุตรเมื่อมีความพร้อม
คุณหมอมีความตั้งใจที่อยากดูแลรักษาคนไข้ในส่วนนี้ จึงเลือกศึกษาต่อด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โดยได้เดินทางไปศึกษาเชิงลึกด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ที่ Cornell University นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ตลอดระยะเวลา 1 ปีในการศึกษา คุณหมอได้ฝึกในและปฏิบัติงานในคลินิกผู้มีบุตรยากที่มีชื่อเสียง ซึ่งสิ่งที่เน้นมากในการศึกษาที่นี่ คือกระบวนการผสมตัวอ่อน ซึ่งคุณหมอก็ได้นำความรู้กลับมาใช้ในการรักษาผู้มีบุตรยากในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
นอกจากความสำเร็จในด้านการศึกษาและการรักษาแล้ว คุณหมอยังได้รับรางวัลระดับชาติ จากงานประชุมวิชาการของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ในหัวข้อ การให้เลือดในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอดบุตรโดยการผ่าตัดคลอด เมื่อปี 2545 ทั้งยังเป็นอาจารย์แพทย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย
แนวทางการดูแลผู้มีบุตรยากของคุณหมอ
ความท้าทายและสิ่งที่คุณหมอให้ความสำคัญที่สุดในการดูแลคู่สมรสที่มีบุตรยาก ให้สามารถมีบุตรได้สำเร็จนั้น คุณหมอธีรยุทธ์ บอกว่า
“เราต้องให้ความสำคัญและทำความเข้าใจในตัวผู้มีบุตรยากอย่างเข้าอกเข้าใจ เพราะเขามีความต้องการมีบุตรในภาวะที่ร่างกายไม่สมบูรณ์พร้อม ดังนั้นหมอจึงต้องให้คำปรึกษาที่ชัดเจน ทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการมีบุตรยากโดยละเอียดทางห้องปฏิบัติการอย่างมีมาตรฐาน พร้อมทั้งอธิบายแนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยโฟกัสถึงปัญหาเฉพาะบุคคล เพื่อทำการรักษาตามแนวทางที่ดีที่สุด เพราะแต่ละเคสก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป”
ความประทับใจในการรักษา
ในการดูแลรักษาผู้มีบุตรยาก เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว คุณหมอธีรยุทธ ก็มีความภูมิใจและดีใจไปกับครอบครัวของคนไข้ในทุกๆ ราย แต่มีอยู่เคสหนึ่งที่จดจำได้เป็นพิเศษ…
“ผู้รับบริการรายท่านนี้เข้ามาขอรับคำปรึกษาในปัญหาผู้มีบุตรยาก เนื่องจากครอบครัวต้องสูญเสียลูกชายคนเดียวจากอุบัติเหตุ และไม่สามารถทำใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ขณะนั้นคนไข้มีอายุ 48 ปีแล้ว เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มีโอกาสน้อยมากที่จะตั้งครรภ์ด้วยไข่ของตนเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับไข่บริจาค เมื่อคนไข้เห็นชอบด้วย หมอจึงทำการผสมเทียมฝังสเปิร์มของสามีคนไข้กับไข่ที่ได้รับบริจาค แล้วนำไปฝังในมดลูกของคนไข้ ทำให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จด้วยดี ต่อมาได้ทราบว่า ไข่ที่ได้รับบริจาคมานั้นเป็นไข่ของภรรยาลูกชายคนไข้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อคนไข้ตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด หมอก็ได้ทำคลอดให้ด้วยตัวเอง เคสนี้จึงเป็นหนึ่งในความประทับใจที่ทำให้จดจำมาถึงทุกวันนี้”
การศึกษา
- 2536 – 2542 แพทยศาสตร์บัณฑิต, ม.ขอนแก่น
- 2542 – 2546 วว.สูตินรีเวชแพทย์, ม.ขอนแก่น
- 2549 – 2551 วว.อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, รพ.รามาธิบดี
- 2554 – 2555 Fellowship in reproductive medicine, Weill Cornell Medical College USA.
ตารางออกตรวจ
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก
คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก