
ปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าพ่อแม่หลายคนไม่มีเวลาที่จะใช้กับลูกได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด หนึ่งในปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่พบบ่อยที่สุด ก็คือการที่ลูกไม่ฟังคำพูดที่เราสอน ซึ่งจริงๆ แล้วอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองกลับมาคิดทวนกันดูก่อนว่า “เราที่เป็นพ่อแม่รับฟังลูกอย่างเพียงพอหรือยัง?”
ยิ่งในช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์จากที่บ้าน โอกาสในการพูดคุยกับเพื่อนๆ ลดลงไป แต่ถูกแทนที่ด้วยพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ที่จะเป็น Social Support ให้ลูกในช่วงที่ต้องเรียนออนไลน์ ซึ่งหากเรายังปรับตัวกับการเรียนแบบนี้ไม่ทัน ก็อาจจะทำให้การเรียนออนไลน์ไม่เกิดประสิทธิภาพตามที่มุ่งหวัง วันนี้ก็เลยมีเทคนิคดีๆ มาแชร์ให้คุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ได้รู้ ว่าควรทำอย่างไร ถ้าอยากให้การเรียนออนไลน์ได้คุณภาพอย่างที่ควร
- การรับฟังอย่างตั้งใจ และการพูดคุยแบบเปิด (Active-Open)
- “ขอบคุณนะที่ไว้ใจแม่/พ่อแล้วเล่าเรื่องพวกนี้ให้ฟัง”
- “แม่/พ่อเข้าใจนะว่าเรื่องที่ลูกเจออยู่ตอนนี้มันน่าโมโหขนาดไหน”
- “แล้วตอนนั้นลูกทำไงต่อหรอ”
- “ลูกคิดว่ามีอะไรที่พ่อ/แม่ช่วยลูกได้ตอนนี้บ้าง”
- “ลูกตั้งใจจะทำอะไรต่อต่อจากนี้หรอ”
- “ลูกเจอปัญหานี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่หรอ”
- “มีใครรู้เรื่องนี้บ้างนอกจากพ่อ/แม่?”
- “เรื่องเล็กๆแค่นี้ ไม่เห็นมีอะไรให้ต้องคิด”
- “หยุดคิดได้แล้ว”
- “ไม่เข้าใจ ร้องไห้ทำไม”
- “ไม่จริง”
- “ลูกต้องห้ามคิดแบบนั้น”
- การสร้างวินัยไปด้วยกัน (Routine)
- การดูแลการเรียนของลูกอย่างมีขอบเขต (Boundary)
- “ลูกคนอื่นไม่เห็นขี้เกียจแบบนี้”
- “ทำไมไม่ตั้งใจเรียนเหมือนเพื่อนคนนี้”
- “ก็เล่นแต่เกมส์อ่ะสิ คะแนนถึงเป็นแบบนี้”
- “ถ้าเพื่อนทำได้ดีกว่าเราก็แปลว่าเราพยายามไม่พอ”
การฟัง และการพูดอาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่การฟังและการพูด คือรากฐานของความสัมพันธ์ และการสร้างความไว้วางใจระหว่างพ่อแม่และลูก หากเราอยากให้ลูกๆ ฟังและปฎิบัติตามสิ่งที่เราสอน ก่อนอื่นเราต้องทำให้ลูกรู้สึกไว้ใจ และกล้าที่จะเข้ามาพูดคุยปรึกษากับเรา การฟังลูกอย่างตั้งใจ จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่เราจะสามารถแสดงออกให้ลูกรับรู้ว่าเราเข้าใจและเราพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือลูกๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านอะไร ซึ่งการฟังที่ดีนั้น พ่อแม่ต้องให้ความใส่ใจ ความสำคัญ ความเข้าใจ กับทุกการสื่อสารของลูก ไม่ว่าจะเป็น คำพูด น้ำเสียง สายตา สีหน้า หรือ ท่าทาง การฟังที่ดีนั้นไม่ใช่การฟังลูกไปดูทีวีไป อ่านไลน์เพื่อนไป ล้างจานไป เป็นต้น
ตัวอย่างคำพูดที่พ่อแม่ควรใช้
เพื่อให้โอกาสลูกในการบรรยายอารมณ์ และความรู้สึก โดยการให้ความเข้าใจ เช่น
และการใช้คำถามแบบเปิด เพื่อให้ลูกๆ นั้นสามารถเล่าเรื่องราวของเขาได้มากขึ้น เช่น
ตัวอย่างคำพูดที่ควรระวัง!!!
เพราะคำพูดเหล่านี้ คือ การปฏิเสธความรู้สึกและประสบการณ์ของเด็ก ซึ่งจะส่งผลให้เด็กไม่อยากเข้าหาหรือฟังคำสอนจากเรา
นอกจากนี้ การรับฟังอย่างตั้งใจและการพูดคุยแบบเปิดนั้น ยังสามารถปลูกฝังให้เด็กไม่เก็บกด และยังป้องกันไม่ให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรงได้อีกด้วย นอกจากนี้การฟังอย่าง Active และการพูดคุยแบบเปิด ยังสามารถทำให้อีก 2 วิธีที่เหลือนั้นได้ผลยิ่งขึ้นตามไปด้วย
เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์จากที่บ้าน สิ่งแรกที่พ่อแม่สามารถทำได้ ก็คือการสร้างสิ่งแวดล้อม (Environment) ในห้องที่ลูกใช้เรียน Online เพื่อให้ลูกมีอารมณ์ในการเรียนให้ได้มากที่สุด หนึ่งในวิธีนั้นคือการสร้างวินัย หรือ กิจวัตร (Routine) ประจำวันในแต่ละสัปดาห์นั่นเอง
งานวิจัยหลายฉบับได้พิสูจน์มาแล้วว่าเด็กๆ จะทำงานหรือกิจกรรมใดๆ ได้ดีเมื่อมีวินัยหรือ เป็นกิจวัตรที่สามารถทำตามได้ (Routine) และโอกาสที่เด็กๆ จะทำตาม Routine นั้นจะมีอัตราสูงขึ้น หากเด็กมีส่วนร่วมในการสร้าง Routine หรือกิจวัตรนั้น จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้การคุยแบบเปิดนั้นสำคัญมาก เพราะคุณพ่อคุณแม่จะได้ตกลงกับลูกอย่างเปิดใจว่า เวลาไหนคือเวลาที่ลูกจะไม่เล่นโทรศัพท์ ไม่เล่นเกมส์ ไม่ดู YouTube หรือดูทีวี หากลูกเชื่อว่าข้อกำหนดต่างๆ นั้นไม่เกินความสามารถของเขา โอกาสที่ลูกจะทำตามกฎที่เราร่วมกันสร้างก็จะสูงขึ้น
อีกสิ่งที่ควรมีในกิจวัตร คือการจัดสรรเวลา ประมาณ 10 – 15 นาที สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนเวลาเรียนออนไลน์ เช่น การตรวจหรือเตรียมอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ หูฟัง ที่ชาร์จ รวมไปถึงการปิดทีวี การเก็บโทรศัพท์มือถือ และการเข้าห้องน้ำ ก่อนเริ่มเรียน
สุดท้าย คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะอัพเดท กิจวัตร หรือ Routine นั้นกับลูกทุกอาทิตย์ โดยลูกควรมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นหากมีอะไรยากไปหรือง่ายไป ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ค่อยมี Quality time หรือช่วงเวลาคุณภาพกับลูกเพียงพอ เพราะการสร้าง Routine เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ดีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้โดยใช้เวลาไม่มาก และไม่กระทบกับกิจกรรมอื่นของครอบครัว
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านให้ความสำคัญกับการเรียนของลูก แต่สิ่งที่เราทุกคนต้องระวังคือการไม่ฝ่าขอบเขตของลูกจนทำให้ลูกเกิดความรู้สึกว่ากำลังถูกจับผิด ความรู้สึกของการถูกจับผิดหลายครั้งอาจทำให้เด็กรู้สึกเหมือนกำลังถูกทำโทษอยู่ เด็กบางคนอาจจะมีความรู้สึกกลัว เช่น การกลัวว่าพ่อแม่จะไม่ภูมิใจ หรือกลัวว่าตัวเองจะไม่ดีพอในสายตาพ่อแม่ เมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นกับการเรียนบ่อยๆ ความพยายาม และแรงจูงใจในการเรียนของเด็กอาจจะลดลง ซึ่งย่อมส่งผลต่อผลการเรียนของเด็กตามไปด้วย
ตัวอย่างคำพูดที่ควรระวัง!!!
ถึงแม้ว่าทุกการกระทำที่พ่อแม่ทำจะมาจากความเป็นห่วงลูก อยากให้ลูกได้ดี แต่ก็ควรต้องรอบคอบคำนึงถึงมุมมองของลูกด้วยเช่นกัน เพราะมีเพียงเส้นบางๆ ที่กั้นระหว่าง การที่ลูกจะมองว่า สิ่งที่เราทำ “คือความหวังดี” หรือ “คือการจับผิด” ซึ่งขึ้นอยู่กับทัศนคติ (Attitude) และวิธีการสื่อสารของคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
นักจิตวิทยา ศูนย์สมองและระบบประสาท
รพ.พญาไท 3