นพ. วรายุ ปรัชญกุล

นพ. วรายุ ปรัชญกุล

นพ. วรายุ ปรัชญกุล


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อนุสาขาอายุรฯโรคระบบทางเดินอาหาร
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

“การจะรักษาคนไข้ให้ดีได้ เราต้องไม่มองคนไข้เป็น subject แต่เราต้องมองคนไข้เป็นมนุษย์ การทำหัตถการของผมจึงต้องทำตามความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักวิชาการเสมอ”

 

“คนไข้ทุกคนต้องหาย” เป้าหมายสำคัญของการเป็นแพทย์เฉพาะทาง

นพ. วรายุ ปรัชญกุล แพทย์ประจำคลินิกโรคทางเดินอาหาร โรงพยาบาลพญาไท 2 ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องในระบบทางเดินอาหารและรักษาคนไข้กลุ่มโรคทางเดินอาหาร จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต และอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารจากศิริราชพยาบาล ม. มหิดล และศึกษาต่อด้านการส่องกล้องขั้นสูง (Advanced Therapertic Endoscopy and Endosonography) ที่ University Hamburg Eppendorf ประเทศเยอรมนี

 

 

ไม่ว่าจะทำอะไร ต้องทำให้ได้ดีเสมอ

คุณหมอวรายุ บอกว่าเป้าหมายในชีวิตของเขาคือ ‘ไม่ว่าจะทำอะไร ต้องทำให้ได้ดีเสมอ’ แม้ในวัยที่ยังศึกษาเล่าเรียนจะยังไม่ได้มีแรงบันดาลใจในการเป็นแพทย์อย่างเต็มเปี่ยม แต่หลังจากที่ได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มาจากโรงเรียนแพทย์ ก็ทำให้เขาอยากทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจรักษาคนไข้อย่างเต็มที่

 

 

“ก่อนที่จะเลือกเรียนต่อด้านระบบทางเดินอาหาร ผมชอบการทำหัตถการอยู่แล้วระดับหนึ่ง แต่นอกจากหัตถการแล้วยังชอบอะไรที่ไม่ได้เน้นการลงมือทำหรือยึดติดกับเทคนิคอย่างเดียว ผมชอบทำงานที่ต้องอาศัยความรู้ประกอบ เพราะเชื่อว่าการจะรักษาคนไข้ให้ดีได้ เราต้องไม่มองคนไข้เป็น subject แต่เราต้องมองคนไข้เป็นมนุษย์ การทำหัตถการของผมจึงต้องทำตามความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักวิชาการเสมอ”

 

 

ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง. . เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญ

“ในการศึกษาเรื่องระบบทางเดินอาหารมีอีกหลายส่วนที่แพทย์ต้องรู้ เช่น ตับ ลำไส้ กระเพาะ การเคลื่อนไหว ฯลฯ แต่ผมชอบการทำหัตถการตั้งแต่ตอนเรียนที่ศิริราช จึงฝึกฝนการส่องกล้องมาเรื่อยๆ และตัวผมเองก็เลือกที่จะเรียนต่อด้านนี้เพิ่มเช่นกัน

 

 

การส่องกล้องที่ผมเชี่ยวชาญ คือ Endoscopic Submucosal Dissection (ESD) เป็นเทคนิคการส่องกล้องตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่จากสำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหาร ที่เหมาะสำหรับรอยโรคขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 เซนติเมตรขึ้นไป วิธีนี้จะสามารถตัดติ่งเนื้อได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง สามารถตัดได้แม่นยำที่สุดภายในครั้งเดียว ซึ่งจะช่วยให้คนไข้ไร้แผล ไม่เจ็บตัวมาก และฟื้นตัวได้เร็ว และ Endoscopic Ultrasound (EUS)ซึ่งเป็นการส่องกล้องเพื่อตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการติดอัลตราซาวด์ไว้ที่กล้อง เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แพทย์มองเห็นสภาพเยื่อบุผนังและผนังทางเดินอาหาร ตั้งแต่ส่วนบน ได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ไปจนถึงผนังทางเดินอาหารส่วนล่าง ได้แก่ ลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ และยังช่วยในการตรวจและรักษานิ่วในท่อน้ำดีแทนการส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) ได้อีกด้วย

 

 

ผมทำตั้งแต่การวินิจฉัยโรคทั่วไป ไปจนถึงเรื่องแอดวานซ์อย่างการเจาะเพื่อระบายน้ำดี ซึ่งกลุ่มคนไข้ที่พบได้บ่อยไม่ใช่กลุ่มแอดวานซ์ที่ต้องส่องกล้อง แต่เป็นกลุ่มโรคทั่วไป (Functional Disease) เช่น กรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะ ที่มีความท้าทาย เพราะมักจะหาสาเหตุไม่พบ ต้องอาศัยทั้งความรู้ในเรื่องของยา ความรู้เรื่องโรค ความพยายามในการที่จะเข้าใจคนไข้และอธิบายให้คนไข้เข้าใจได้”

 

 

อยากทำหัตถการให้ดี ต้องคิด วิเคราะห์ หาคอนเซ็ปต์. . ก่อนลงมือทำ

“ตอนส่องกล้องใหม่ๆ ผมคิดว่าการได้ฝึกฝนเยอะๆ น่าจะดีแต่คอนเซ็ปต์ในการทำหัตถการของเรายังไม่ได้ดีมาก จนกระทั่งไปเรียนต่อที่ University Hamburg Eppendorf ประเทศเยอรมนี อาจารย์ที่นั่นเขาก็ให้คอนเซ็ปต์ในการรักษาที่ดีกับเรา เราจึงได้เรียนรู้ว่าการจะทำหัตถการไม่ใช่สักจะทำก็ทำได้เลย เราต้องคิด เราต้องวิเคราะห์ ต้องฝึกฝนหาแนวทาง หาสเต็ปในการทำ หาคอนเซ็ปต์ของเคสนั้นๆ ให้เจอจนจบก่อนแล้วค่อยลงมือทำ ความรู้นี้มันเปลี่ยนความคิดและวิธีการทำงานของผมไปเยอะเลยนะ พอกลับมาจากเยอรมันผมก็ยังเรียนรู้และฝึกฝนอยู่เสมอ ทุกวันนี้ผมก็คิดว่าผมทำได้เกือบหมดทุกเคสแล้ว จึงถือว่าประสบความสำเร็จในสาขาที่ทำอยู่ในระดับหนึ่งเลย”

 

 

ตั้งเป้าหมายในการรักษา. . และค้นหาวิธีที่ดีที่สุด

“เป้าหมายในการรักษาคนไข้ของผมข้อที่ 1 คือคนไข้ผมทุกคนต้องหาย เพราะผมเชื่อว่าถ้าเราคิดแบบนี้แล้วเราจะทุ่มเทรักษาเขา ถ้าเมื่อไหร่ที่เราคิดว่าเรารักษาเขาเพราะว่าเราเจ๋ง เราเก่ง เราจะหลุดโฟกัสจากหน้าที่ของเรา และไปโทษว่าที่เขาไม่หายเพราะไม่ยอมทำตาม ไม่หายเพราะคนไข้ไม่เข้าใจ ซึ่งผมไม่เคยคิดแบบนั้น

 

 

ผมจะพยายามทำทุกวิถีทางให้เขาหายดีให้ได้ ถ้าเมื่อไหร่ที่รักษาแล้วไม่หายเราจะพยายามไปค้น ไปหา ไปดูว่ามันมีเทคนิค มียาหรือวิธีการอะไรไหมที่จะรักษาให้เขาหายได้ มันก็ทำให้เราเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ พอเรารู้แล้ว เราก็ต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพยายามทำให้มันสำเร็จได้ โดยที่ลดความเสี่ยงของคนไข้ด้วย วิธีการที่ผมพยายามทำมาตลอดจึงเป็นที่มาของความเชี่ยวชาญในทุกวันนี้”


  • 2536 แพทยศาสตร์บัณฑิต, ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
  • 2544 วว.อายุรศาสตร์, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • 2548 วว.อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร, ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
  • 2551 Certificate in Advanced Therapertic Endoscopy and Endosonography, University Hamburg Eppendorf Germany

ตารางออกตรวจ

คลีนิก โรคทางเดินอาหาร

(10:00 - 15:00)

คลีนิก โรคทางเดินอาหาร

(10:00 - 15:00)

คลีนิก โรคทางเดินอาหาร

(10:00 - 15:00)

คลีนิก โรคทางเดินอาหาร

(10:00 - 15:00)

คลีนิก โรคทางเดินอาหาร

(10:00 - 15:00)
Loading...
Loading...