พญ. ณิชา ลิ้มตระกูล

พญ. ณิชา ลิ้มตระกูล

พญ. ณิชา ลิ้มตระกูล


ความชำนาญ
กุมารเวชศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

สิ่งสำคัญในการดูแลเด็กๆ สำหรับหมอ คือการสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูเด็ก ทุกครั้งที่ได้พบกัน หมอจะใช้เวลาในการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูเพื่อให้ครอบคลุมในทุกประเด็นสำคัญ จะได้ทราบว่าพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กในขณะนั้นเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมสมวัยหรือไม่ สิ่งใดที่พบว่าเป็นปัญหา เราจะร่วมกันแก้ไขปัญหาได้อย่างไร เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงมีความเข้าใจ สามารถเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กได้อย่างเหมาะสม

 

 

เมื่อครั้ง พญ. ณิชา ลิ้มตระกูล เป็นแพทย์ใหม่ๆ คุณหมอมีความสนใจในการดูแลรักษาโรคให้กับเด็กๆ เป็นพิเศษ ด้วยเหตุผลนี้คุณหมอจึงเลือกศึกษาต่อในสาขากุมารเวชศาสตร์ และในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณหมอบอกว่า. . .

 

“เมื่อได้เข้ามาเรียนแพทย์ มีโอกาสได้เห็นเคสที่หลากหลาย และทำให้รู้ว่าอยากเป็นหมอเด็กมากที่สุด ด้วยความที่ชอบเด็กอยู่แล้ว ทำให้รู้สึกดีและได้รับกำลังใจทุกครั้ง เมื่อได้เห็นเด็กที่ป่วย ซึม งอแง กลับมาร่าเริง สดใส แข็งแรงเหมือนเดิมในตอนที่เค้าหายป่วยแล้ว และเมื่อได้เป็นหมอเด็กแล้ว ก็พบว่าพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กเป็นพื้นฐานและเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กคนหนึ่งๆ โตขึ้นกลายป็นผู้ใหญ่ในแบบหนึ่งๆ ซึ่งนอกจากจะอยู่ที่ตัวเด็กเองแล้ว ยังมีความเกี่ยวข้องกับผู้เลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ที่เด็กได้เผชิญอีกด้วย เมื่อเรียนต่ออนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรม จึงทำให้ได้มีส่วนช่วยในการรับฟัง พูดคุย ดูแลรักษาเด็ก และให้คำปรึกษาแก่คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างเหมาะสม เมื่อเด็กๆได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม มีอาการดีขึ้น ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว กับเพื่อนๆ คุณครูดีขึ้น ทุกคนมีความสุขกันมากขึ้น หมอก็มีความสุขตามไปด้วยค่ะ”

 

 

พฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กคือพื้นฐานสำคัญของชีวิต

ด้วยคุณหมอณิชา เป็นกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม นอกจากคุณหมอจะให้คำปรึกษาแก่พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูแล้ว คุณหมอจะตรวจประเมินพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ทั้งด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ภาษา รวมถึงการช่วยเหลือตัวเองและการเข้าสังคม โดยปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่มักจะพาเข้ามาพบหมอ ก็คือปัญหาสมาธิสั้น ลูกพูดช้า ลูกก้าวร้าว เป็นต้น

 

 

“ในแผนกกุมารเวช หมอจะดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี โดยที่คลินิกวัคซีน จะมีการประเมินการเจริญเติบโต และคัดกรองพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกครั้ง ว่าเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัยหรือไม่ ร่วมกับให้คำแนะนำในการเฝ้าระวังและเลี้ยงดูเด็กแก่คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดู ส่วนที่คลินิกพัฒนาการ หมอจะใช้เวลาในการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ และจะมีการตรวจประเมินพัฒนาการเด็กอย่างละเอียดทั้งด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ภาษา รวมถึงการช่วยเหลือตัวเองและการเข้าสังคม อาจมีการประเมินเพิ่มเติมเรื่องซน สมาธิสั้น ออทิสติก เป็นต้น อาจมีการส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจการได้ยิน การตรวจประเมินความสามารถทางเชาว์ปัญญา (IQ test) การตรวจวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (WRAT) ซึ่งนำไปสู่การรักษาตามสาเหตุ ทั้งการให้คำปรึกษา การใช้ยา การทำกิจกรรมบำบัด การฝึกพูด เรียนการศึกษาพิเศษ”

 

 

สร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของปัญหา

จากประสบการณ์ในการดูแลรักษาเด็กๆ คุณหมอณิชาจะให้ความสำคัญถึงปัจจัยแวดล้อมด้วยเสมอ เพราะการจะดูแลรักษาให้เด็กคนหนึ่งดีขึ้นได้ ไม่เพียงแค่ตัวเด็กเอง คุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดู รวมถึงคุณครู ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่มีส่วนช่วยในการรักษาเช่นกัน กรณีผู้ที่พาเด็กมาพบแพทย์ไม่ใช่ผู้เลี้ยงดูหลัก เมื่อทราบปัญหาและวิธีการแก้ไขแล้ว ควรจะมีการสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก อาจเป็นปู่ย่าตายาย พี่เลี้ยง คุณครู มีความเข้าใจปัญหาตรงกัน เมื่อทุกคนร่วมมือกัน และดูแลเด็กอย่างเหมาะสมในแนวทางเดียวกัน ก็จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการหรือพฤติกรรมดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

 

 

“เมื่อได้พูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ได้ตรวจประเมินเด็ก แล้วพบว่ามีปัญหา หมอจะอธิบายให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่าพัฒนาการและพฤติกรรมที่ปกติในวัยนั้นๆ ควรเป็นแบบไหน เด็กผิดปกติอย่างไร สาเหตุน่าจะมาจากตรงไหน เราจะช่วยกันดูและรักษาเด็กอย่างไร และผลที่ตามมาเมื่อเด็กได้รับและไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการรักษา นอกจากนั้นจะมีการนัดตรวจติดตามอาการเด็กเป็นระยะ เพื่อดูผลที่ได้จากการดูแลรักษา รวมถึงอาจมีการตรวจเพิ่มเติม และการปรับการรักษา เป็นต้น”

 

 

วินิจฉัยให้รู้ปัญหาทำการรักษาให้ตรงจุด

คุณหมอจะทำการซักประวัติ ตรวจและประเมินพัฒนาการอย่างละเอียด อาจมีแบบประเมินให้คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูร่วมกันประเมินเด็กอีกทางหนึ่ง ร่วมกับอาจมีการส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจการได้ยิน การตรวจประเมินความสามารถทางเชาว์ปัญญา (IQ test) การตรวจวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (WRAT) เป็นต้น ทำให้สามารถวินิจฉัย และนำไปสู่การรักษาตามสาเหตุ เช่น การปรับพฤติกรรมเด็กโดยคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู การทำกิจกรรมบำบัด เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กหรือมัดใหญ่ ฝึกสมาธิ การรอคอย การฟังคำสั่ง ฝึกพูด ฝึกทักษะสังคม เป็นต้น บางกรณีจะมีการรักษาด้วยการใช้ยา หรือการฝึกอ่านเขียนกับครูการศึกษาพิเศษ

 

 

เป้าหมายสั้นๆ นำไปสู่จุดหมายที่ยิ่งใหญ่

เมื่อเด็กมีความผิดปกติหรือมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูบางท่านอาจต้องใช้เวลาในการยอมรับความผิดปกติของลูก ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาจจะทำให้แก้ปัญหาได้ยากขึ้นไปกว่าเดิม…

 

“สิ่งหนึ่งที่หมอพยายามบอกคุณพ่อคุณแม่เสมอ ก็คือ ไม่อยากให้ยึดติดกับคำวินิจฉัยโรคมากนัก แต่ให้คิดว่าลูกเรามีพัฒนาการช้าในด้านไหน ก็ให้ช่วยกระตุ้นเขาในด้านนั้นๆ ไม่เปรียบเทียบลูกเรากับเด็กคนอื่น และให้ตั้งเป้าหมายในระยะสั้นๆ เช่น เดือนหน้า อยากให้ลูกพูดคำเดี่ยวจาก 5 คำ เป็นอย่างน้อย 10 คำ เป็นต้น เมื่อไม่ยึดติดกับคำวินิจฉัยโรค ไม่เปรียบเทียบ และตั้งเป้าหมายสั้นๆ จะทำให้คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูมีกำลังใจในการดูแลเด็กมากขึ้น และจะทำให้เห็นว่าเด็กมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น”

 

 

เป้าหมายสำคัญในการดูแลเด็กๆ ของคุณหมอณิชา คือต้องการให้เด็กได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม มีพัฒนาการที่ดีขึ้นจนใกล้เคียงหรือเทียบเท่าพัฒนาการของเด็กวัยเดียวกัน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมาะสมตามวัย และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


  • 2548 – 2554 แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • 2554 – 2555 Internships, คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • 2555 – 2558 ว.กุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • 2558 – 2560 อนุสาขาพัฒนาการและพฤฒิกรรมเด็ก, ภาควิชากุมารฯ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ตารางออกตรวจ

คลินิก พัฒนาการเด็ก

(09:00 - 18:00)

คลินิก พัฒนาการเด็ก

(09:00 - 18:00)

คลินิก พัฒนาการเด็ก

(09:00 - 18:00)

คลินิก พัฒนาการเด็ก

(09:00 - 18:00)

คลินิก พัฒนาการเด็ก

(09:00 - 18:00)
Loading...
Loading...